Stock : กองทุนรวม :EP4

กองทุนรวม (Mutual Fund)
- เป็นการระดมเงินรายย่อย เข้ามาบริหาร โดยผู้เชี่ยวชาญ
- ผู้ลงทุนได้รับ หน่วยลงทุน (Unit Trust) หลักฐานยืนยันการเป็นเจ้าของ

ผลตอบแทนจากกองทุน
- ส่วนแบ่งจากเงินปันผล (Dividend)
-- เฉพาะบางกองทุนที่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
- กำไรส่วนต่างราคา
-- กองทุนซื้อหุ้นราคาถูก ขายราคาแพง
- ผลตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนคือ รายรับจาก กองทุน

ข้อดี
- มีผู้บริหารมืออาชีพดูแลเงินแทน
- มีการกระจายความเสี่ยง โดยการลงทุนในหุ้นต่างๆ
- มีอำนาจต่อรองเพราะกองทุนมีขนาดใหญ่
- เหมาะสำหรับมือใหม่

ประเภทของกองทุน
- กองทุนเปิด
-- สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ต่อเนื่องได้หลังมีการเสนอขายครั้งแรกแล้ว
-- สามารถรับซื้อหน่วยลงทุนคืนทุกเมื่อ
-- มักมีการกำหนดเวลาในการซื้อขาย ล่วงหน้า
-- มีสภาพคล่องสูง
- กองทุนปิด
-- มีกำหนดอายุ โครงการแน่นอนชัดเจน
-- มีการซื้อหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว คือตอนเริ่ม
-- ขายคืนเมื่อครบอายุโครงการเท่านั้น

แบ่งกองทุนรวมเป็น 10 ประเภท
1.) กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
-- ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่มีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถาม
-- การลงทุนระยะสั่น นักลงทุนไม่ต้องการความเสี่ยง
2.) กองทุนรวมตราสารหนี้ (General Fixed Income Fund)
-- ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ประเภทต่างๆ
Ex พันธบัตรรัฐบาล ,พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ,ตั๋วการเงิน ,ตั๋วสัญญาเงิน
-- ผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้น้อย
3.) กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว (Long-Term Fixed-Income Fund)
-- ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่มีอายุถือครอง มากกว่า 1 ปี
-- เหมาะสำหรับผู้มียอมรับความเสียงต่ำ และลงทุนระยะยาว
4.) กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-Term Fixed-Income Fund)
-- ลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่มีอายุถือครองไม่เกิน 1 ปี
-- เหมาะสำหรับผู้มียอมรับความเสียงต่ำ และลงทุนระยะสั้น
5.) กองทุนรวมผสม (Balanced Fund)
-- ลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆได้ทุกประเภท
Ex เงินฝาก ตราสารทุน ตราสารหนี้
-- เหมาะสำหรับผู้มียอมรับความเสียงปานกลาง
6.) กองทุนรวมผสมยืดหยุ่น (Flexible Portfolio Fund)
-- ลงทุนได้คล้าย กองทุนรวมผสม (Balanced Fund)
-- ต่างกันที่สัดส่วนการลงทุน
-- เหมาะสำหรับผู้มียอมรับความเสียงปานกลาง
7.) กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds)
-- ลงทุนในหน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิ์ หน่วยลงทุน
-- อาจมีเงินบางส่วนลงทุน เงินฝาก ตราสารทุน ตราสารหนี้
8.) กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund)
-- ลงทุนในตราสารทุนประเภทต่าง
Ex หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ Warrant
-- เหมาะสำหรับผู้มียอมรับความเสียงสูง
9.) กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (Warrant Fund)
-- ลงทุนใน Warrant ,หุ้นกู้ ,หน่วยลงทุน ,หุ้นเพิ่มทุน
-- เหมาะสำหรับผู้มียอมรับความเสียงสูงมาก
10.) กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector Fund)
-- ลงทุนในตราสารทุนของบริษัท ที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกัน
Ex กลุ่มธนาคาร ,กลุ่มสือสาร
-- ข้อเสียคือ ลงทุนแบบกระจุกตัว
-- เหมาะสำหรับผู้มียอมรับความเสียงสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไป

กองทุนรวมพิเศษ
1.) กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (Prianiple or Capital Protection Fund)
- กองทุนรวมลงทุนใน พันธบัตรรัฐบาล ,ตราสารหนี้ เพื่อรักษาเงินต้น
- ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนไม่ต่ำกว่าเงินลงทุนเบื้องต้น
- ใช้เทคนิคการลงทุน 2 แบบ
-- Passive - 90% ลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำ
-- Active - ลงทุนในตราสารทุนเพิ่ม ลดการถือคลองพันธบัตร
- มีความเสี่ยงต่ำ - ผู้ลงทุนไม่ชอบความเสี่ยง
2.) กองทุนรวมแบบมีประกัน (Guarantee Fund)
- กองทุนรับประกัน >> ถ้าครบกำหนด ได้รับผลตอบแทนไม่ตรง >> จ่ายเงินลงทุน + ผล คืน
- จ่ายคืนเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
- รับประกันเงินลงทุน ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
3.) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF)
- ลงทุนในหุ้นสามัญ
- จุดประสงค์ ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้น
- มีภาษีเป็นสิ่งจูงใจ
-- เงินลงทุนนำมาลดหย่อนภาษีได้ ถ้าไม่เกิน 500,000 บาท
-- กำไรจากการขายคืน ได้รับการยกเว้นภาษี
เงื่อนไขการลงทุน LTF
- ต้องซื้อหรือ ถือ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ถ้าขายคืนก่อนโดนภาษี
4.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF)
- จุดประสงค์ ส่งเสริมการออมเงินระยะยาว สำหรับจ่ายช่วงเกษียณ
- คล้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ,บำเหน็จ บำนาญ
- ได้รับสิทธิเรื่องภาษี
-- เงินลงทุนนำมาลดหย่อนภาษีได้ ถ้าไม่เกิน 500,000 บาท
-- กำไรจากการขายคืน ได้รับการยกเว้นภาษี
เงื่อนไขการลงทุน RMF
- ลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้ง
- ไม่ระงับการซื้อขายหน่วยลงทุนเกิน 1 ปี
- ลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท/ปี
- การขายคืน ต้องมีอายุมากกว่า 55 ปี และ ถือขั้นต่ำ 5 ปี
- หากผิดเงื่อนไขโดนภาษี
5.) กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF)
- ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ 80% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุน
- อาจมีการจ่ายปันผลหรือไม่จ่ายก็ได้
- เปิดโอกาสให้สามารถลงทุนในต่างประเทศ โดยมืออาชีพ
- อาจมีความเสี่ยงในด้านอัตราการแลกเปลี่ยน
แบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ
1. แบบ บลจ. บริหารกองทุนเอง
- นำเงินไปลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์หรือสินค้าในต่างประเทศ
Ex กองทุนรวม FIF ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้
2. แบบ บลจ. ซื้อกองทุนรวมที่บริหารจัดการโดยกองทุนต่างประเทศ
- มีการกระจายความเสี่ยง
สามารถลงทุนได้ 2 วิธีคือ
2.1 ลงทุนเพียงกองเดียว (Feeder Fund)
2.2 ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ (Fund Of Funds)
- ซื้อกองทุนรวมในต่างประเทศหลายๆกอง
6.) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund)
- ลงทุน ในการลงทุนซื้อหรือ เช่าอสังหาริมทรัพย์
- ไม่มีจุดมุ่งหมายในการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อพัฒนาหรือ ขายต่อ
- อสังหาริมทรัพย์ต้องอยู่ภายในประเทศ
- ผู้ลงทุนได้เงินในรูปแบบ เงินปันผล
แบ่งออกเป็น 2 แบบ
- Freehold
-- นำรายได้จากการเช่ามาจ่ายปันผล
-- มีสิทธิ์เต็มในอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน
-- เมื่อยกเลิกกองทุนสามารถขายอสังหาริมทรัพย์ เฉลี่ยคืนผู้ลงทุน
- Leasehold
-- ลงทุนโดยการเช่า
-- ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
-- นำอสังหาริมทรัพย์ ไปทำสัญญาเช่ากับเจ้าของ
-- เมื่อครบสัญญาต้องคืน
-- ตอนเลิกกองทุนมูลค่าสิทธิ์การเช่ากลายเป็น 0

หลักการพิจารณาเลือกกองทุนรวม
- ทำความเข้าใจกองทุน และเลือกประเภทที่เหมาะสม
- วิเคราะห์ผลตอบแทนจากอดีต หากองทุนรวมที่ผลตอบแทนสม่ำเสมอ
- พิจารณาสภาพคล่องการซื้อขาย
- พิจารณา อายุกองทุนรวม ให้ตรงกับความต้องการเงินในอนาคต
- ระวังเรื่องขนาดของสินทรัพย์ กองทุน
- พิจารณาคุณภาพ และความสามารถการบริหารของผู้จัดการกองทุน
- เลือกกองทุนรวมที่มีการกระจาย เพื่อลดความเสี่ยง

เทคนิคการลงทุนในกองทุนรวม
- อ่านหนังสือชี้ชวนให้ละเอียด
-- นโยบายการลงทุนสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่ ?
-- ผลตอบแทน ความเสี่ยง สิทธิ์ประโยชน์ทานภาษี
- ไม่ให้น้ำหนักกับผลการดำเนินในอดีตมากเกินไป
- เลือกกองทุนที่เหมาะกับสไตล์ตัวเอง
- เลือกกองทุนรวมที่ เรามีความชำนาญ
- เลือกกองทุนรวมที่ผลตอบแทนดีกว่าระดับมาตราฐานเป็นเวลานาน
- เลือกกองทุนรวมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ
- เลือกกองทุนรวมที่มีบริการครบวงจร
- พิจารณาเพื่อหาเวลาเหมาะสมในการซื้อขาย
- พิจารณาแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคต
Ex ดอกเบี้ยแนวโน้มลดลง >> เลือกกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว >> ล๊อกดอกเบี้ย

---------------------------------------------------------------------
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- นายจ้าง ลูกจ้าง ตั้งขึ้นโดยสัญญาใจ
- เป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งของนายจ้างแก่ลูกจ้าง
- ได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี
- เพื่อให้มีเงินออมยามเกษียณ ออกจากงาน
- สะสมได้ตั้งแต่ 2 - 15% ของเงินเดือน
Ex เราออมเงิน 10% นายจ้างจะสมทบอีก 10%
- นำเงินไปลงทุน
- เงินลงทุนที่ได้ นำมาจ่าย เรียกว่า ผลประโยชน์ของเงินสะสม
ได้รับเงินกองทุนเมื่อไหร่
- ออกจากงาน ,เกษียณอายุ ,เสียชีวิต
- ได้รับเงินสะสมทั้งหมด แต่เงินสมทบเป็นไปตามเงื่อนไข


---------------------------------------------------------------------
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
- Infrastructure Fund : IFF
- ระดมทุนเพื่อระดมทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
- ช่วยลดภาระทางด้านงบประมาณ และก่อหนี้สาธารณะของรัฐ
- ได้รับผลตอบแทนจาก กิจการที่ลงทุน จ่ายแก่ผู้ลงทุน
- ภาครัฐ : มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และก่อหนี้สาธารณะ ประเทศต้องการพัฒนาอีกมาก
- ผู้ลงทุน : โอกาศการลงทุน ,ได้รับการยดเว้นภาษี 10 ปี

ลักษณะทั่วไปของกองทุน
- ชื่อของกองทุนต้องมีคำว่า "กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน"
- ทุนจดทะเบียนขั่นต่ำ "2,000 ล้านบาท"


สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับกองทุนรวมที่
Link : https://www.set.or.th/set/article.do?subtopicId=39&topicId=37&language=th&country=TH

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น