Stock : ประเภทหลักทรัพย์ :EP5


Common Stock (หุ้นสามัญ)
- ตราสารประเภทหุ้น ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด
- ระดมเงินทุนจากประชาชน
- ผู้ถือหุ้นสามัญ มีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท
- ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการออกเสียงลงมติ ตามสัดส่วนที่ถือครอง
- ได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล จากกำไรบริษัท
- ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามศักยภาพบริษัท
- มีโอกาสได้รับสิทธิ์จองหุ้นออกใหม่ เมื่อบริษัทเพิ่มทุน
- หากบริษัทเลิกกิจการ จะได้รับส่วนแบ่งในสินทรัพย์

---------------------------------------------------------------------------------
Foreign
- หุ้นสำหรับให้ชาวต่างชาติถือได้
- ป้องกันการครอบคลองกิจการจากช่างชาติ
- ต่างชาติถือได้ แต่ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ
- ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมหุ้นสามัญ
- มีสิทธิ์เกือบทุกอย่างคล้ายหุ้นสามัญ (เงินปันผล)
- ลงท้ายด้วย -F เช่น ABC-F
- นักลงทุนในประเทศ แนะนำซื้อขายกระดานหลัก เนื่องจากสภาพคล่องสูงกว่า


---------------------------------------------------------------------------------
Warrant (ใบสำคัญแสดงสิทธิ์)
- ใบสำคัญแสดงสิทธ์ซื้อหุ้นทุน
- สาเหตุที่บริษัทออก เพราะต้องการเงินทุน
- ส่วนมากแจกฟรี กับผู้ถือหุ้นเดิม เครื่องหมาย (XW)
- เครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่ง
- ให้สิทธิ์แก่ผู้ผู้ถือสาร สามารถซื่อหรือขายตามราคา
- ต้องใช้สิทธิ์ในเวลาที่กำหนด

ความเสี่ยงและ ผลตอบแทน
- ระยะเวลาในการใช้สิทธิ์
-- ระยะเวลาใช้สิทธ์สั้น >> ความเสี่ยงสูง
-- มูลค่าของ Warrant เกิดจากผลต่างระหว่าง ราคาหุ้นสามัญกับ ราคาใช้สิทธิ์แปลงสภาพ
-- หากมีการยืด จะทำให้ Warrant มีราคาสูง
- มูลค่า Warrant
-- ขึ้นอยู่กับ มูลค่าหุ้นสามัญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-- หุ้นสามัญผันผวน หุ้นWarrantผันผวนตาม
- ความเสี่ยงที่เกิดจาก ผู้ออกWarrant
-- ไม่สามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขสัญญา
- สภาพคล่อง
-- ผู้ซื้อขาย บางทีไม่สามารถขายได้ในราคาเหมาะสม >> ขาดสภาพคล่อง
- อัตราดอกเบี้ย
-- อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม >> มูลค่าปัจจุบันของราคาใช้สิทธิ์แปลงสภาพลดลง >> ราคาWarrant เพิ่มขึ้น
- การจ่ายปันผล
-- เมื่อบริษัทประกาศจ่ายปันผล >> หุ้นสามัญราคาลง >> Warrant ลดลง

มูลค่า Warrant ตามเวลา
- Warrant มักมีราคาที่ใช้สิทธิ์ สูงกว่าราคาหุ้นสามัญ
- ระยะเวลาเหลือ >> มูลค่ายิ่งสูง
- ตลาดขาขึ้นนักลงทุนมักเลือกลงทุน Warrant
-- Warrant มีราคาต่อหน่วยต่ำ >> การลงทุนมักได้กำไรสูง
- ก่อนตัดสินใจซื่้อควรพิจารณา วันหมดอายุของตราสาร
อ่านเพิ่มเติม
Warrant Link : http://yutaro-diary.blogspot.com/2017/09/0002-thai-stock-dsm-dsm-2.html

---------------------------------------------------------------------------------
DW
- ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ อนุพันธ์ (Derivative Warrants)
- เป็นสิทธิ์ในการซื้อหรือ ขายสินค้าอ้างอิง ณ ราคาในอนาคต
- ผู้ถือไม่ได้รับสินค้าอ้างอิง แต่สามารถทำกำไรจากส่วนต่าง เมื่อครบกำหนดอายุ

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- สิทธิ์ในการซื้อ (Call Dw)
-- ผู้ถือมีโอกาสได้รับผลตอบแทนหากสินค้าอ้างอิงมีราคาปรับตัวขึ้น
- สิทธิ์ในการขาย (Put Dw)
-- ผู้ถือมีโอกาสได้รับผลตอบแทนหากสินค้าอ้างอิงมีราคาปรับตัวลดลง

จุดเด่นของ DW
- มีการทำกำไรทั้ง 2 ทาง
- การลงทุนใน DW ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการลงทุนสินค้าอ้างอิงโดยตรง
- จำกัดการขาดทุนสูงสุดเท่ากับมูลค่าที่ซื้อขายไป

ความเสี่ยงของ DW
- ความเสี่ยงด้านราคา >> ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาด
- DW มีอายุจำกัด ไม่เหมาะสมกับการลงทุนระยะยาว

ส่วนประกอบของ DW
- มูลค่าตามเวลา
-- ต้นทุนด้านเวลา ระหว่างรอสินค้าราคาเพิ่มข้นหรือลดลง
-- DW อายุคงเหลือมาก >> จะมีมูลค่าตามเวลาสูง
-- DW อายุคงเหลือน้อย >> จะมีมูลค่าตามเวลาต่ำ
-- มูลค่าของ DW จะลดลงเรื่อย จนเป็น 0 เมื่อวันที่ DW ครบกำหนด
- มูลค่าที่แท้จริง
-- คำนวณจาก ส่วนต่างระหว่างราคาใช้สิทธิ์ และสินค้าอ้างอิงในตลาด
-- จะมีค่าก็ต่อเมื่อ ผู้ถือมีการใช้สิทธิ์ตามที่ได้รับ
-- Call DW การที่ราคาใช้สิทธิ์ต่ำกว่าราคาตลาด
-- Put DW การที่ราคาใช้สิทธิ์สูงกว่าราคาตลาด

สถานพของ DW และการใช้สิทธิ์
- สถานะ In-The-Money (ITM) >> สถานะมีกำไร
- สถานะ Out-Of-The-Money (OTM) >> สถานะขาดทุน
- สถานะ At-The-Money (ATM) >> ราคาเท่าทุน
(ก่อนซื้อแนะนำดูวันใช้สิทธิ์ และวันหมดอายุ)

ชื่อย่อ DW บนกระดานซื้อขาย
- UUUUIICCYYMMA
- UUUU >> ชื่อย่อ 4 หลักของสินทรัพย์อ้างอิง
- II >> รหัสผู้ออก 2 หลัก (หมายเลขบริษัท สมาชิก ตลท.)
- C >> ประเภท DW (Call >> C ,Put >> P)
- TTMM >> ค.ศ. ของเดือนของวันซื้อขายวันสุดท้าย
- A >> รุ่น เรียงลำดับจาก A-Z

---------------------------------------------------------------------------------
ETFs
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก
Link : http://yutaro-diary.blogspot.com/2017/10/0019-thai-stock-etf.html

---------------------------------------------------------------------------------
Unit Trust
- การลงทุนในหน่วยลงทุน (Unit Trust)ของกองทุนรวม(Mutual Fund)
- หลักทรัพย์ ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน
- เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดขึ้น
- ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้นๆ
- มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลจากกำไรที่เกิด

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก
Link : https://yutaro-diary.blogspot.com/2017/10/0022-thai-stock.html

---------------------------------------------------------------------------------
Preferred Stock (หุ้นบุริมสิทธิ์)
- เป็นตราสารทุนชนิดหนึ่ง กึ่งหนี้ และกึ่งเจ้าของ
- เงินปันผลมีอัตราตายตัว แม้บริษัทไม่มีกำไร
- กรณีบริษัทเลิกกิจการ
-- ผู้ถือมีโอกาศเรียกร้องในสินทรัพย์ของบริษัทจากเจ้าหนี้ ก่อนหนี้ก่อนหุ้นสามัญ
-- ถ้าไม่มีสินทรัพย์ ก็ไม่ได้รับเงินคืน
- มีไม่มากในตลาดหลักทรัพย์
- มีการซื้อขายน้อย (สภาพคล่องต่ำ)
- จุดสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อหุ้นสามัญ

หุ้นบุริมสิทธิ์ แบ่งเป็น 4 ประเภท
- หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock)
-- ผู้ถือหุ้นได้รับปันผลในปีที่ไม่มีการจ่ายปันผล
- หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสม (Non - Cumulative Preferred Stock)
-- ปีใดไม่ได้รับเงินปันผล ยกยอดไปปีต่อไปไม่ได้
- หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดร่วมรับ (Participating Preferred Stock)
-- ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ร่วมกับหุ้นสามัญ
- หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่ร่วมรับ (Non - Participating Preferred Stock)
-- หุ้นบุริมสิทธิ์ ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนด

ข้อดี
- ความคล่องตัว และยืดหยุ่นสูง
-- เงินปันผล ไม่เป็นภาระผูกพันที่ต้องจ่ายประจำ เปรียบเทียบกับหุ้นกู้ที่ได้รับดอกเบี้ยจากหนี้สินกิจการ
- ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืน
- หุ้นถือเป็นส่วนของเจ้าของ
- การออกหุ้นบุริมสิทธิ์
-- ทำให้บริษัทไม่จำเป็นต้องออกหุ้นสามัญ จึงไม่กระทบราคาหุ้นสามัญ
- การออกหุ้นบุริมสิทธิ์ ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน
-- สามารถนำสินทรัพย์ชนิดอื่นไปค้ำได้

ข้อเสีย
- อัตราเงินปันผลจ่ายหุ้นบุริมสิทธิ์ สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้
- เงินปันผลไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย
-- นำไปหักภาษีกำไร
- มีค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุน
-- ค่านายหน้า (มักสูงกว่าหุ้นกู้)
- ความนิยมมีน้อย
-- มีความเสียเปรียบ ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในการบริหารงาน
-- ผู้จัดหาเงินทุน มีโอกาศหาเงินไม่ได้ตามกำหนด

การที่บริษัทแปลงหุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้อะไร
- บริษัทไม่ได้สิทธิ์ไม่ต้องผูกพันกับการจ่ายเงินปันผล
- ผู้ถือหุ้นมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของลดลง

---------------------------------------------------------------------------------
TSR (Transferable Subscription Right)
- ตราสารบริษัทออกแก่ผู้ถือหุ้นเดิม เมื่อเพิ่มทุน ตามสัดส่วนผู้ถือหุ้น (Right Offering : RO)
- เดิมวิธีเพิ่มทุนแบบ RO จะไม่บังคับผู้ลงทุนเดิม เพิ่มทุนหรือไม่ก็ได้
- จึงเกิดปัญหาในการระดมทุน
- ใบแสดงสิทธิ์คล้าย Warrant
- สามารถซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์
- TSR มีอายุสั้นกว่า Warrant
- TSR อายุไม่เกิน 2 เดือน Warrant อายุ 3 - 5 ปี
- บริษัทออกและ เสนอขาย TSR แก่ผู้ถือหุ้นเดิมเท่านั้น
- ผู้ถือหุ้นเดิม ไม่ต้องการซื้อสามารถขาย TSR ในตลาดหลักทรัพย์ได้
- หลักทรัพย์ที่ออก TSR มักตามด้วย "-T" XXX-T
- หลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย SP แก่ TSR 3 วันก่อนวันเริ่มจองซื้อ

ประโยชน์
- สามารถระดมทุนได้ตามที่เป้าหมายกำหนด
- ขยายฐานผู้ถือหุ้น
- เพิ่มทางเลือกแก่ผู้ถือหุ้นให้มากขึ้น
- เพิ่มสภาพคล่องแก่ตลาดหลักทรัพย์

---------------------------------------------------------------------------------
DR (Depository Receipt)
- ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
- หลักทรัพย์ให้สิทธิอ้างอิง อาจเป็นหุ้นสามัญ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ
- ผู้ลงทุนได้รับสิทธิ์ต่าง เหมือนผู้ถือหุ้นบริษัท

---------------------------------------------------------------------------------
หุ้นกู้ (Bonds)
- ตั๋วสัญญาออกโดยผู้กู้ โดยสัญญาจะจ่าย ต้นและดอกเท่าไหร่ ตามวันที่ตลอดอายุหุ้นกู้
- หากบริษัทมีการล้มละลาย จะได้รับเงินชำระคืน

รายละเอียดหุ้นกู้ประกอบด้วย
- ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนคืน
- มูลค่า >> มูลค่าเมื่อครบกำหนด
- อัตราดอกเบี้ย

ผลตอบแทน
- ดอกเบี้ยตายตัว ตลอดระยะเวลา
- ดอกเบี้ยกำหนดแบบขั้นบันได
- โดยทั่วไปหุ้นกู้ด้อยสิทธิ จะได้ดอกเบี้ยมากกว่า หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์
- หุ้นกู้อายุยาวให้ดอกเบี้ยมากกว่าหุ้นกู้อายุสั่น

---------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง
Link1 : https://www.set.or.th/th/products/equities/equities_p1.html
Link2 : https://dict.longdo.com/search/Common%20stock
Link3 : http:// hoondb.com/หุ้นสามัญ/
Link4 : https://pantip.com/topic/33258706
Link5 : http://www.sornhoon.com/d-warrent.aspx
Link6 : https://www.set.or.th/th/products/dw/dw_p1.html
Link7 : http:// www.การเล่นหุ้น.com/หุ้น-dw-คืออะไร/
Link8 : https://pantip.com/topic/31104042
Link9 : https://www.set.or.th/set/education/html.do?name=mutualfund&showTitle=F
Link10 : https://betteroflife.wordpress.com/2012/01/05/หุ้นบุริมสิทธิ/
Link11 : https://th.jobsdb.com/th-th/articles/หุ้นกู้คือ-หุ้นสามัญ
Link12 : https://money.kapook.com/view149888.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น