DSM : Densri Method : EP12 [สรุป]

สรุปกลยุทธ์ DSM
แผนการลงทุนคือ
- ขาขึ้น รอขึ้น 15 ช่อง
- เริ่มขายทีละ 5 ช่อง ช่องละ 1000 หุ้น
- สามารถขายได้ทั้งหมด 7000 หุ้น (กองหน้า)
- ซื้อคืน หลังกลับทุกๆ 5 ช่อง
- ได้กระแสเงินสดแฝง และหุ้นคืน

- ขาลง
- ขายทุก 2 ช่อง ซื้อคืน 5 ช่องช่องละ 1000 หุ้น
- เมื่อซื้อคืนได้ จะได้กระแสเงินสดแฝง
- ถ้าขายไม่ทันให้่ขายในราคานั้น
- อย่ากังวลถ้ารับหุ้นคืนไม่ทัน

จำลอง กลยทธ์
แผนการรับมือหุ้น XD (ปันผล)
- กอดหุ้นรับปันผล
- ทำตามแผนที่วางไว้

แผนการรับมือหุ้น XR (ขอทุนเพิ่ม)
- ไม่เพิ่มทุน
- ขายหุ้นออกให้มาก
- เร็วที่สุด 10% ,25% ,50% ,100%
- รอหุ้นเพิ่นทุนเข้าตลาดหุ้น
- ซื้อในราคาที่เหมาะสม หรือ รอจังหวะหุ้นเด้งคืน 4 ช่อง

*เพิ่มเติมการเลือกหุ้นวิธีลงทุน DSM

- เป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล
- เป็นหุ้นที่มีความนิยม >> ซื้อขายมาก
- เป็นหุ้นหลักของ เศรษกิจประเทศ
- เป็นบริษัทที่อยากร่วมเป็นกิจการ

DSM : Densri Method : EP11

DSM [33] กลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XD อย่างไร
- การลงทุน DSM คือลงทุนตามแผนที่วางไว้
- เมื่อเข้าสู่ช่วง มี.ค พ.ค ของปี มักมีเงินปันผล
- ราคาหุ้นมักลง เท่ากับเงินที่ได้ปันผล

- ถ้าไม่อยากได้เงินปันผลทำอย่างไร โดยมีเเหตุผลดังนี้
-- ไม่อยากรอรับเงินปันผลหลังจากวัน XD ไปอีกอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
-- เงินปันผลที่ได้ เสียภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผล
-- หุ้นบางตัวมีเครดิตภาษี บางตัวไม่มี ทำให้ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการขอรับเครดิตภาษีเต็มที่
-- นักลงทุนบงคนไม่ต้องการเครดิตภาษี >> เนื่องจากมีฐานภาษีที่สูงอยู่แล้ว หรือเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ
-- ต้องการรับกระแสเงินสดแฝงมากว่าเงินปันผล

จึงมีที่มาว่าถ้าหุ้นขึ้นเครื่องหมาย XD จะลงทุนวิธี DSM อย่างไร ?
- คุณ Vprewat(หนึ่งในศิษย์เอง) ได้ทดลองกับหุ้น A จึงมีที่มาของกลยุทธ์
-- ได้ทดลองขายหุ้นทั้งหมด 100% ก่อนขึ้นวัน XD โดยผลที่ได้น่าจะได้รับกระแสเงินสดแฝงมากกว่าปันผล
-- ผลที่ได้เป็นอย่างไร

Ex - หุ้น A ปันผล 3.25 / หุ้น จ่ายเงินปันผลวันที่ 11 พ.ค
- ราคาหุ้นปิดวันที่ 31 มี.ค ราคา 162 วันขึ้น XD ราคาเปิด 161 ,สูงสุด 168 ,ต่ำสุด 161 ,ราคาปิด 166
- ดังนั้น วันนี้ได้รับเงินปันผลฟรี และส่วนต่างราคาอีก 4 บาท
- รวมจะได้เงินวันนี้ 7.25 / หุ้น

- มีหุ้นอีกหลายตัว ที่ลงเท่ากับเงินปันผล หรือมากกว่าเงินปันผล
- จากตัวอย่างแสดงว่าอย่าคาดเดาตลาด อาจทำให้เสียหุ้นในมือทั้งหมด 100%

- นักลงทุนหุ้น DSM มีหุ้นในมือก่อนวันขึ้น XD ทำอย่างไร
--  ควรขายทำประกันก่อน XD สัก 2-3 วันก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย
-- ทำประกันเอาไว้ 30 % ของพอร์ต ถือรับปันผล 70% ของพอร์ต

เหตุผลสนับสนุน
- 30% เป็นจำนวนหุ้นที่เรายินดีทิ้งไว้เป็นกองหลัง
- เงินปันผล DSMer ถือเป็นเงินฟรี
- ถ้าหุ้นวิ่งขึ้น แทนที่จะลง เราจะได้ปันผลเพิ่มขึ้น
- ถ้าหุ้นวิ่งลง เราได้ขายหุ้นออกไปก่อน 30 %(ได้ราคาดีด้วย)

- DSMer บางท่านอาจไม่ต้องทำตามกลยุทธ์นี้ก็ได้
-- ถือหุ้นรับปันผล 100%

- หุ้นที่วิ่งสวนวัน XD ส่วนมากเป็นหุ้นพลังงาน

หมายเหตุ
- นักลงทุน DSMer ควรคิด และพิจารณา พร้อมการวางแผนรับมือไม่ว่าหุ้นขึ้นหรือลง
- XD = Excluding Dividend = ผู้ซื้อหุ้นในวันแขวนป้ายไม่มีสิทธ์ได้รับเงินปันผล ตามที่บริษัทประกาศจ่าย
-- หากต้องการรับเงินปันผลต้องซื้อหุ้นก่อน หรือซื้อช่วงมีข่าว XD (เมื่อข่าวออก หุ้นมักแพงรับข่าว)

DSM [34] กลยุทธ์หุ้น DSM สู้ศึก XR ทำอย่างไร? 
- ทำอย่างไร เมื่อมีการขอเพิ่มทุน
- หัวข้อได้รับแรงบันดาลใจจาก Minibar (หนึ่งในศิษย์เอง)
- หลักการข้อหนึ่งของ DSM คือ ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุน

- ถ้ามีกระแสเงินสดแฝงสามารถเพิ่มทุนได้ทันที
- ถ้าไม่มีกระแสเงินสดแฝงสำหรับเพิ่มทุนทำอย่างไร ?

1.) ขายหุ้นตัวนั้นออก ให้มากและเร็วที่สุดเมื่อรู้ข่าว (ขายตามแผน 10% ,20% ,50% ,100%)
-- รอจนกว่าหุ้นเพิ่มทุนจะเข้ามาซื้อขายในตลาด
-- ซื้อในราคาที่เหมาะสมหลังเพิ่มทุนตามสัดส่วน
-- รอจังหวะซื้อคือ เมื่อหุ้นกำลังเขียวๆ

หรือ
2.) ทำการขายหุ้นตัวนั้น ตามแผนที่วางไว้
-- แต่ยังอยู่ในเงื่อนไขไม่มีเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุน ,ไม่สามารถที่จะหากระแสเงินสดแฝงจากตัวมันเองได้
ในระยะเวลาก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR ไม่มีเงินพอไปจ่ายค่าหุ้นเพิ่ม
-- หลังจากได้กระแสเงินสดแฝงการจากการพอร์ต ทั้ง 100% ก่อนวันขึ้น XR เพื่อจะได้ไม่เพิ่มทุน
-- ไปรับหุ้นกลับหลังจากที่หุ้นลูก ได้เข้าทำการซื้อขายในตลาดแล้ว
-- ซื้อหุ้นเขียวตอนกำลังจะขึ้น
-- จะได้กระแสเงินสดแฝงเพิ่ม จำนวนหุ้น โดยไม่เพิ่มเงิน

Ex หุ้น A ประกาสเพิ่มทุน แล้วหุ้นตก
- วันที่จะขึ้น XR วันที่ 9 มี.ค อัตราส่วน 4 : 1 @ 1.71 บาท (หุ้นเดิม 4 ซื้อหุ้นใหม่ 1 ราคา1.71)
- วันจองจ่ายค่าหุ้นเพิ่ม 24 - 30 มี.ค
- ถ้าใครถือหุ้นวันที่ 9 มี.ค ไม่จ่ายค่าหุ้นเพิ่ม ก็ไม่ได้หุ้นใหม่
- ราคาวันที่ 8 มี.ค ราคา 2.42 ราคาปิดวันที่ 9 มี.ค 2.44 สูงสุด 2.56 ต่ำสุด 2.40 ราคาปิด 2.40

วิธีคำนวณ ราคาที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มทุน
- 4 หุ้น ต่อ 1 หุ้น ราคา 1.71 จะได้ราคาเฉลี่ย
- (4 x 2.42 + 1.71 x 1 /5) = 2.28 บาท
- ถ้าราคาหลังตลาดหลักขึ้นเครื่องหมาย XR ราคาเท่ากับ 2.28 บาท ถือเป็นราคาเหมาะสม
- ถ้าสามารถซื้อ หุ้น หลังจากหุ้นลูกจาย ต่ำกว่า จะดี

- หลังจากวันที่หุ้นลูกของ A ทำการซื้อขาย จำนวน 151,387,893 หุ้น วันที่ 20 เม.ย
- ผลของราคาเปิด 2.04 บาท สูงสุด 2.20 บาท ต่ำสุด 2.00 ราคาปิด 2.10

- เปรียบเทียบ ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ ราคาปิด 2.76 (Hi) ถึงวันที่ 8 มี.ค ราคา 2.42 (วันขึ้นเครื่องหมาย XR)
- 1 เดือนผลต่าง 2.76 - 2.42 = 0.34 คิดเป็น 12.31 %
- เราสามารถสร้างกระแสเงินสดแฝงได้ 12.31 % หรือไม่

เป็นการยกตัวอย่าง ไม่ได้แสดงว่าหุ้นทุกตัวจะมีรูปแบบราคาแบบนี้

*หมายเหตุ
- XR = Excluding Right = ผู้ซื้อหุ้นในวันที่แขวนป้ายนี้ จะไม่มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่
ต้องซื้อก่อน หรือช่วงซื้อก่อนแขวนป้าน
- H = Halt Trade = เครื่องหมายแสดงให้นักลงทุนทราบว่า หลักทรัพย์ดังกล่าว อยู่ระหว่างห้ามซื้อขาย

DSM [35] SET DSM index ?
- วิธีคิด ดัชนี DSM ของพอร์ต
วัตถุประสงค์
- เพื่อไม่ให้เรา DSMer หลงไปยึดติดกับ SET INDEX
- เพื่อทำให้ทราบว่าแต่ละวัน ระบบ DSM ของเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร

การคำนวณดัชนีหุ้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อด้อย
- วิธีแบบแรกคือ Price Weight คิดแค่ราคาหุ้นอย่างเดียว
Ex - ข้อมูลวันแรกเริ่มทำ DSM
-- A ราคา 12 บาท,B ราคา 32 บาท ,C ราคา 9 บาท
-- นำราคาทั้งหมดมาหารด้วยหลักทรัพย์
-- (12 + 32 + 9 / 3) = 17.67 นี้คือค่าดัชนีเริ่มต้น
- ถ้าข้อมูลปัจจุบันเป็น
-- A ราคา 11 บาท,B ราคา 37 บาท ,C ราคา 10 บาท ,D ราคา 9 บาท
-- (11 + 37 + 10 + 9 / 4) = 16.67  นี้คือค่าดัชนี ณ ปัจจุบัน

- แสดงให้เห็นว่า ดัชนี DSM ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงปัจจุบัน ลงลด 1.00 จุด คิดเป็น 5.66%
- ุถ้าคิดวิธีนี้มูลค่าพอร์ต ต้องลดลง 5.66% ด้วย
- แต่ความจริงไม่ใช้ เพราะ จำนวนหุ้นแต่ละตัวไม่เท่ากัน
- สูตรคำนวณที่ตลาดใช้อยู่คิดแบบ Market Value Weight
- โดยให้น้ำหนัก และจำนวนหุ้นคำนวณด้วย
- หุ้นใหญ่จึงมีผลต่อดัชนี

วิธีที่เหมาะสมคือนำ จำนวนหุ้น และราคามาคิด
Ex2 - ข้อมูลวันแรกเริ่มทำ DSM
-- A ราคา 12 x 10,000 = 120,000บาท
-- B ราคา 32 x 3,000 = 96,000บาท
-- C ราคา 9 x 10,000 = 90,000บาท
-- สมมุติว่าไม่ได้คิดค่าคอมมิชั่นลงในตัวอย่าง
-- ราคารวมทั้ง 3 หุ้นเท่ากับ 306,000 บาท เป็นตัวอ้างอิง
-- สมมุติให้ Set DSM Index ดัชนีเริ่มต้น = 100 จุด

- ถ้าข้อมูลปัจจุบันเป็น
-- A ราคา 11 x 11,000 = 121,000บาท
-- B ราคา 37 x 3,000 = 110,000บาท
-- C ราคา 10 x 4,000 = 40,000บาท
-- D ราคา 9 x 5,000 = 45,000บาท
-- ราคารวมทั้ง 4 หุ้นเท่ากับ 317,000 บาท

- Set DSM Index ณ ปัจจุบัน = (317,000 x 100) / 306,000 = 103.59 (เท่ากับเพิ่มขึ้น 3.59)
- มูลค่าพอร์ต ก็ควรจะเพิ่มขึ้น 3.59% เช่นกัน
- ไม่สามารถ นำ Set Index มาดูเพื่อนเป็นตัวอย่างอ้างอิงกับพอร์ต DSM ได้ (เพราะคิดจากหุ้นทั้งหมด)

- เราควรทำ Set DSM Index ไว้คอยเปรียบเทียบ ด้วยตนเอง
- เมื่อเวลาเปลี่ยนไป จะทำให้เราทราบว่า DSM ที่ทำ เปลี่ยนแปลงอย่างไร
- ถ้าจะให้เป็นจริงมากขึ้น เราควรนำกระแสเงินสดแฝงไส่เข้าไปด้วย

สรุป สูตร Set DSM Index ดังนี้
- Set DSM Index =
[ผลรวม(จำนวนหุ้น A x ราคาหุ้น A) + เงินสดคงเหลือ] x 100 / ผลรวม[จำนวนหุ้น B x ราคาหุ้น B]
- B แทนจำนวนหุ้นวันแรกที่เริ่มทำ , A = หุ้นในพอร์ต ณ ปัจจุบัน
- เงินสดคงเหลือ = เงินสดทั้งหมด - เงินออม 25% - เงินค่าใช้จ่าย 25%

- หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อชาว DSMer
- คอยดูการเปลี่ยนแปลง Set DSM index เพื่อไม่ไห้ Set index หลอกเรา

วันนี้นักลงทุน DSMer มี Set DSM index หรือยัง ?

DSM : Densri Method : EP10

DSM [30] DSM Music Theory
- ธรรมชาติของตลาดหุ้น >> การลงทุนแบบมีโน๊ตดนตรี (มีเสียงสูง ต่ำ)
-- หุ้นหนึ่งตัว ไม่มีวันขึ้น หรือลงตลอด
-- ในหนึ่งวัน จะมีทั้งหุ้นขึ้น และหุ้นลง

การลงทุนหุ้นแบบ โน๊ตดนตรี มีเสียงสู้ต่ำ เปรียบเหมือน ราคาสูง ต่ำ,เขียวแดง
หลักการคือ
- เลือกหุ้นที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการมา 30 ตัว >> ให้จับตาหุ้น
- เริ่มต้นจากตัวใดตัวหนึ่งก่อน ,หรือหลายตัวก็ได้
- หลังจากที่ขายหุ้นกองหลังออกไป
-- สามารถเอาไปลงทุนหุ้นตัวใหม่ >> ที่เราสนใจ ตัวไหนกำลังเขียว >> ให้เอาเงินที่ขายจากกองหลัง
ซื้อได้เลย
-- ก่อนขายหุ้นตัวหนึ่ง แล้วมีการวางแผนจะซื้อตัวใหม่ไว้แล้ว อย่างนี้เรียก DSM Master
-- มือใหม่หัดลงทุน ควรรอว่าถ้ากองหลังซื้อคืนไม่ได้ >> ค่อยซื้อเพิ่มหุ้นตัวใหม่ >> เป็นการสร้างวงดนตรี
โดยการเพิ่มโน๊ตทีละตัว
-- DSM Master สามารถขายกองหลัง แล้วไปซื้อหุ้นตัวใหม่ได้เลย (มีฐานข้อมูลว่าสำคัญ)
-- ฐานข้อมูลเมื่อลงทุนเป็นเวลา 2 ปี จะสามารถเปลี่ยน Basic >> Master อัตโนมัติ
- หุ้นเท่ากับหุ้น หุ้นทุกตัวเป็นตัวเดียวกัน แต่ต่างที่ระดับราคา

เราสามารถสร้างวงดนตรีจากพอร์ตหุ้น DSM Music Theory รับรองว่าได้รับกระแสเงินสดมากกว่า Basic

- การทำตามสูตร 3-0-2-8 ผสมกับวิธีลงทุนหุ้นแบบ DSM Music Theory >> ทำให้นักลงทุนรอดพ้น
จากตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็น ขาขึ้น หรือลง
- สามารถที่จะมีรายได้ และกระแสเงินสดแฝงทุกวัน
- เมื่อลงทุนวิธี DSM เป็นเวลา 2 ปี จะทำให้เข้าใจประโยคที่ว่า
"ไม่ได้สร้างรายได้จากหุ้นในปัจจุบัน แต่เป็นการสร้างรายได้จากฐานข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา"

ข้อแนะนำสำหรับการสร้างวงดนตรีพอร์ตหุ้น
- นักลงทุนต้องจำกัดจำนวนเงินในพอร์ต
- การซื้อขายหุ้นในพอร์ตวง ดนตรีไม่ควรมีการซื้อขายเกิน 1.5 เท่า ของวงเงินเริ่มต้น
- สามารถทำให้ซื้อหุ้นกลับ ได้ครบทุกตัวที่ขายเมื่อเวลาหุ้นลง
- ลงทุนในหุ้นที่เราเลือกไว้เท่านั้น อย่าออกนอกแนว
- อาจเกิดปัญหาพอร์ตหุ้นขาดเงินหมุนเวียน
- ถ้าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง การลงทุนด้วยวิธีนี้อาจไม่ดีนัก
- หุ้นส่วนมากลงตามตลาด
- ให้หุ้น คงอยู่ในหุ้นของมันเอง อย่าเปลี่ยนหุ้นเร็วจนเกินไป

DSM [31] DSM Double Theory ?
- คนคิดวิธี DSM Double Theory นี้คือ คุณลำซี(หนึ่งในศิษย์เอก DSM)

- วิธีนี้เหมาะ กับการลงทุนตอน Sideway ,กับหุ้นขาลงที่กำลังจะขึ้น
- เป็นการผสมระหว่างวิธี DSM และการเก็งกำไร >> โดยใช้ประโยชน์จากกองหลัง
- วิธีนี้ต้องมีเงินลงทุนหนึ่งก้อน เพื่อเก็งกำไรอย่างเดียว
- เป็นวิธีที่ทำให้เราเป็นนักเก็งกำไร โดยใช้ประโยชน์จากวิธีลงทุน DSM
- วิธีนี้สามารถประยุกต์ใช้กับ Day Trade ได้

DSM Double Theory
- ใช้ประสบการณส่วนตัวเป็นตัวประกอบในการเก็งกำไร
- ไม่ต้องการลงรายละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
- ต้องการให้เป็นนักลงทุน DSM โดยสร้างรายได้จาก กระแสเงินสดแฝง และเงินปันผล
- ร่วมเดินทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน พร้อมๆกับ สมาชิก ของห้องสินทร จาก Pantip

DSM [32] DSM Double Pyramid Theory ?
- เป็นการบริหารพอร์ตหุ้น DSM อีกแบบหนึ่ง
- เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนให้สูงสุด
- นักลงทุนส่วนมาก มูลค่าพอร์ตลดตอนขาลง
- DSM ไม่สนใจมูลค่าพอร์ต
- เป็นที่มาของการลงทุนแบบ DSM Double Pyramid theory
- Double (คู่ หรือสอง) Pyramid (พีรามิด)
- พีรามิดมีฐานที่กว้าง แต่ยอดเล็ก
- สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ในการลงทุนได้

- แนวคิดการลงทุน มองแบบ Pyramid
- เวลาหุ้นขาขึ้น ซื้อหุ้น ซื้อแบบ Pyramid ตัวตั้ง ซื้อบบฐานกว้างยิ่งขึ้นยิ่งซื้อ
- ซื้อน้อยลงเป็นสัดส่วน

- เวลาหุ้นเป็นขาลง ขายเป็น Pyramidแบบหัวกลับ โดยขายครั้งแรกปริมาณมาก
- ขายตามสัดส่วนที่ลดลง

- ลงทุนตามวิธีนี้เป็นการ เพิ่มประสิทธิภาพ ในการลงทุนแบบ DSM ได้มากทั้งขาขึ้น และขาลง
- Pyramid สามารถทำให้การลดลงของมูลค่าพอร์ต ตอนหุ้นขาลง ลดลงน้อยกว่า Basic DSM

- ไม่สามารถเขียนวิธีได้ แต่เขียนเป็นแนวคิดได้ อาจทำให้นักลงทุนสับสนกับ Basic DSM
- ต้องการเสนอว่า การลงทุนแบบ DSM สามารถประยุกต์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดได้

DSM : Densri Method : EP9

DSM [26] กระแสเงินสดแฝงในอนาคตคืออะไร ?
- "กระแสเงินสดแฝง" เกิดจากการลดค่าของสินทรัพย์ หรือขายหุ้น
- ซื้อหุ้นถูกกว่าราคาที่ขายไป >> ได้กระแสเงินสดแฝง
- "กระแสเงินสดแฝงในอนาคต" การที่จะได้กระแสเงินสดแฝง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- ขายหุ้นในปัจจุบัน แล้วซื้อหุ้นถูกกว่าขายในอนาคต
- เป็นการบริหารพอร์ต ให้เกิดประโยชน์ จากเงินกองหลังให้มากที่สุด

EX - หุ้น A เป็นกองหลัง 3 กอง จากการขายที่ราคา 9.00 ,8.90 ,8.80 กองละ 1000 หุ้น
หุ้นขึ้นไปอยู่ที่ราคา 9.75 กลายเป็นจุด Short หุ้นจุดใหม่ รอบใหม่เพราะราคาสูงกว่า
ราคากองหลังกองแรก 15 ช่อง (9.00 >> 9.75)
- กองหลัง 3 กองที่ถูกทิ้งไว้ระวังหลัง จะทำประโยชน์ได้อย่างไร
- ทำให้เกิดการคำนวณ กระแสเงินสดแฝงในอนาคต มาใช้ ตามแผนของเรา (สมมุติรับคืนทุก 5 ช่อง)
หรือกี่ช่อง แล้วแต่แผนของเรา

การคำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคต
- ขายที่ราคา 9.00 รับที่ราคา 8.75 (5 ช่อง)
- ขายที่ราคา 8.90 รับที่ราคา 8.65
- ขายที่ราคา 8.80 รับที่ราคา 8.55
- จะได้กระแสเงินสดแฝงในอนาคตทั้งหมด 0.25 x 1000 x 3 = 750 บาท (ยังไมได้หักค่าคอม)
- กองหลังเราทิ้งระวังหลังไว้
- สามารถนำเงิน 750 บาท แบ่งเป็น 50% เอามาลงทุนต่อ ,25%สำรอง ,25%ใช้จ่ายตามสัดส่วน
- เงินกองหลังที่เหลือนำมาเก็บไว้ รับซื้อหุ้นคืนเมื่อถึงจุดที่ต้องซื้อ
- สามารถกำหนดจุดซื้อคืนเป็น 10 ,20 ,40 ช่อง
- การคำนวณกระแสเงินสดแฝงนำมาใช้เพื่อ ลงทุนต่อในปัจจุบันได้เลย
- ทุกครั้งที่เรา ขายหุ้น สามารถคำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตได้เลย
- สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยที่ยังไม่ต้องรอรับซื้อหุ้นกลับมา
- ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะกองหลังเท่านั้น

- นักลงทุนด้วยวิธี DSM ที่เล่นหุ้นแบบโน๊ตดนตรี
- หลังจากขายกองหลังแล้ว >> สามารถนำไปซื้อหุ้นเขียวอ่อนได้
- การลงทุนแบบนี้ไม่ต้องคำนวณเงินในอนาคต
- การจะได้กระแสเงินสดในอนาคต ต้องลงทุน DSM แบบ Basic
- ติดตามการเล่นหุ้นแบบโน๊ตดนตรี ในตอนที่ DSM[30] - DSM Music Theory

DSM [27] หลักการตัววัดผล DSM ทั้ง 8 ตัว 
- การลงทุนหุ้นแบบ DSM กระแสเงินสดแฝงต้องแบ่งเป็นสัดส่วนให้เกิดกระแสสูงสุด
- ตัววัดผล การลงทุนหุ้นแบบ DSM มีอะไรบ้าง
-- เงินสำรองหนี้ 25% ต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือน
-- จำนวนหุ้นต้องเพิ่มขึ้นทุกเดือน (ทั้งปริมาณ และชนิดของหุ้น)
-- จำนวนปริมาณ กระแสเงินสดแฝง ที่ได้รับแต่ละรอบของการซื้อคืน >> ต้องมากขึ้นหรือคงที่
-- ปริมาณกองหลังจะต้องลดลงเรื่อยๆ >> เนื่องจากซื้อคืนได้
-- ปริมาณ อสังหาริมทรับย์ และทรัพย์สินอื่นๆดังที่กล่าวต้อง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
-- หนี้สินที่ เลวต้องทยอยลดลง และหมดไป
-- แหล่งเงินทุน ต้องเพิ่มขึ้นเรือยๆ มีเงินทุนเสนอเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ
-- เงินปันผลเข้ามาทุกปี >> ปริมาณหุ้นเพิ่มขึ้น

- ถ้าเงินปันผล มีมากกว่าค่าใช้จ่ายต่อปี  อาจไม่ต้องทำงานธุรกิจเช่าหุ้น
- อาจหยุดพักร้อน เดือน 2 เดือนก็ได้
- เนื่องจากสามารถทำให้คนอื่นมาทำธุรกิจ เช่าหุ้นแทนเราได้
- เราจึงได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า

ความลับของคนรวยมี 2 ประเภท
- OPT - Other People's Time (เวลาของคนอื่น)
- OPM - Other People's Money (เงินของคนอื่น)
- จะทำอย่างไร ? ถึงเราสามารถใช้กฎ 2 ข้อนี้ได้
- ในอนาคตเราสามารถเปิดบริษัท ที่สอนคนลงทุน DSM สามารถใช้ได้ทั้ง DSM และ OPM ได้
- การลงทุนต้องมีการคุมพอร์ต (มากเกิน >> ทำให้น้อยลง , น้อยเกินทำให้มากขึ้น)

- ตัววัดทุกตัว บอกผลงานไปทางเดียวกัน
- ถ้าเกิดตัวใดตัวหนึ่งผิดไป ถือว่าเกิด Error ให้รีบหาข้อแก้ไข

DSM [28] เคล็ดลับของความสำเร็จ วิธีลงทุนแบบ DSM
- แบ่งเงินเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
-- เงินฟรี คืออะไร ? ถ้ายังไม่เคยได้ ให้ทำตามแผนการลงทุน แล้วสักวันจะเข้าใจ
-- "เขียวซื้อ - แดงขาย" หรือ"กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง" ซึ่งคือ DenSri Indicator = DSI
-- หุ้น เท่ากับหุ้น >> มองว่าหุ้นที่เลือกเป็นตัวเดียวกัน >> แต่ต่างที่ระดับราคา
-- ระบบบัญชีสำคัญมาก ในการจับหุ้นซื้อขาย และยังสร้างฐานข้อมูล (Data Base)
ในระยะการลงทุน 2 ปีแรก เป็นการลงทุนที่ถือว่าหวานเมล็ดพันธุ์ หลังจากนั้นคือเก็บเมล็กพันธุ์
จะทำให้รู้ว่า"ไม่ได้สร้างรายได้จากหุ้นในปัจจุบัน แต่เป็นการสร้างรายได้จากฐานหุ้นในอดีตที่ผ่านมาก"
-- สูตร 3-0-2-8
-- ธรรมชาติของการลงทุนหุ้น>> การลงทุนแบบ DSM >> แบบโน๊ตดนตรี (DSM Music Theory)
ซึ่งมีโน๊ตเสียงสูง เสียงต่ำ (ราคาสูง ต่ำ) และหุ้นเขียวแดง
-- การปฎิบัติตามแผน อย่างมีวินัย = การลงทุน (มีจิตใจแนวแน่ มั่นคง ไม่หวั่นไหว ไม่คิดกำไรขาดทุน)
แล้วจะพบวิธีที่เหมาะสม กับคุณ  "คิดได้ จดไว้ ลงมือทำ ทบทวน"
ความผิดพลาดไม่น่ากลัว ที่น่ากลัว คือความผิดพลาด และ "ไม่ยึดติดมูลค่า
แต่สนใจการเปลี่ยนแปลงของหุ้น"

DSM [29] สูตร 3 - 0 - 2 - 8 คือ ?
- เป็นวิธีคิด เปรียบเทียบกับกีฬาฟุตบอล (แบ่งเป็นกองหลัง กองกลาง กองหน้า)

3 - 0 - 2 - 8 คืออะไร
- เดิมมี 1,000 หุ้น ทิ้งกองหลังไว้ 300
- อาศัย 700 หุ้นที่เหลือ สร้าง 300 ที่ปล่อยคืนมา (รวมทั้งหมดเป็น 1300 หุ้น)
- ให้มองว่า 10,000 หุ้น ทิ้งกองหลัง 3,000 หุ้น >> ใช้ 7,000 หุ้นที่เหลือ สร้างหุ้นขึ้นมา 3,000 หุ้น
เป็น 10,000 หุ้น (รวมทั้งหมดเป็น 13,000 หุ้น) เอามาแบ่งเป็นกลองกลาง 2,000 หุ้น กองหน้า 8,000 หุ้น
วิธีนี้การจะใช้ต้อง DSMers ระดับ Master

- หรือ จากหุ้น 1,300 หุ้น แบ่งกองหลัง 300 กองกลาง 200  กองหน้า 800 หุ้น
เปรียบเหมือน กองหลัง 3,000 กองกลาง 2,000  กองหน้า 8,000 หุ้น
- สามารถแบ่งขายกองต่างๆ ได้อย่างละ 10%

- หรือ จาก 10,000 หุ้น แบ่งเป็น กองหลัง 3,000 กองกลาง 1,400  กองหน้า 5,600 หุ้น
- ถ้ามอง 100 % จะแบ่งดีงนี้ กองหลัง 30% กองกลาง 20% (14% จากเริ่มต้น)
กองหน้า 80% (56% จากเริ่มต้น)
- และก่อนทำแบบนี้ ไปเรื่อยๆทุกรอบ ที่ห่างจากกองหลัง 15 ช่องถือเป็นช่องใหม่

- ส่วนต่างๆ ของแต่ละกองต่างกันอย่างไร
- 3 >> กองหลัง ลงทุนทางลงอย่างเดียว (ถ้าไม่ขึ้นมามากว่า 4 ช่องจุดต่ำสุด จะไม่ซื้อกลับ)
- 0 >> ช่วงราคาที่หุ้นอยู่ระหว่างกองหลัง 3 กอง >> ไม่ทำอะไร เพราะได้ขายเอาไว้แล้ว
- 2 >> กองกลาง หุ้นส่วนที่ใช้สำหรับ Sideway  ปล่อยทีละนิด(1%) ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น
ปิดตลาดจะต้องซื้อคืน เอาไว้ลงทุนช่วง Sideway (ส่วนนี้จะลงทุน หรือไม่ก็ได้)
- 8 >> กองหน้า หุ้นส่วนนี้จะไม่ปล่อยไป  >> จนกว่าจะเลยช่วง Sideway  (15 ช่องจากกองหลังบนสุด)
- มีทั้งลงทุนหุ้นขึ้น หุ้นลง ลงทุนช่วง Sideway

- กองกลาง ลงทุนในช่วง Sideway
- อาจสร้างกระแสเงินสดแฝงได้น้อย แต่มีประโยชน์ในแง่ความสบายใจ
- 1% ที่ปล่อยไปเรื่อยๆ >> ให้ทำตามแผนการควบคุม
- มันจะค่อยสร้างกระแสเงินสดแฝง เป็นค่าเงินเทรดหุ้นเล็กๆ น้อยๆ
- ถ้าเทรดในช่วงกองกลางขาย 1% อาจไม่คุ้มค่า คอมมิชั่น >> อาจขายทีละ 5%- 20% >>
ในช่วง 15 ช่องจากกองหลังตัวบน >> และหาจังหวะรับกลับ
- ถ้าไม่สามารถรับกลับได้ ก็จะเสียหุ้น >> แต่ต้องยอมรับ เนื่องจากเป็นแผนที่วางไว้

- อาจแบ่งกองต่างๆ ตามสูตรความถนัดของแต่ละคน เช่น 3-0-2-5 ,3-0-3-4 ,3-0-4-3

- การบริหารพอร์ต 3-0-2-8 สามารถประยุกต์เป็น 3-3 /0-2-8
-- มองว่า 3-0-2-8 เป็นการบริหารพอร์ตทั้งพอร์ต (สมมุต 100,000 บาท คิดเป็นทั้งหมดของพอร์ต)
สามารถแบ่งได้ตามนี้
-- 3 >> 30% ของเงินเริ่มต้นที่ทำการลงทุน >> เก้บไว้เป็นเงินสำรองในพอร์ตหุ้น และเก็บเอาไว้ลงทุนหุ้นแบบ DSM Double ในที่นี้คือ 30,000 บาท >> เราได้เตรียมเงินต้นเอาไว้แล้ว >> ส่วน 70% ของพอร์ต
เอามาซื้อหุ้น และแบ่งขาย 10%
-- 3/0 >> กองหลัง >> ขายหุ้นลงเรือยๆ ทุก 2 ช่อง >> ขายไปเรื่อยๆ สามารทิ้งกองหลังได้ 3 กอง
ถ้าหุ้นลงก็ขายจนหมดมือ >> เวลาหุ้นเด้งจากจุดต่ำสุดก็รับหุ้นกลับ
-- 2 >> กองกลาง >> ลงทุนช่วง Sideway >> 20% ลงทุนช่วงนี้ 15 ช่อง
-- 8 >> กองหน้า >> ลงทุนช่องขาขึ้นเต็มตัว ขึ้นมามากกว่า 15 ช่อง จากกองหลังสุดบนสุด

- เป็นแนวคิด ที่บริหารพอร์ตอย่างหนึ่ง
- สามารถลงทุนหุ้นแบบ DSM และ DSM Double โดยใช้เงินในพอร์ตของตนเอง
- สามารถศึกษา DSM Double ในบทที่ DSM[31] - DSM Double Theory

DSM : Densri Method : EP8

DSM [22] DSM บุญ หรือบาป
- คำกล่าว "คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น" >> บุคคลภายนอกมองตลาดหุ้นเป็น บ่อนการพนัน
- การเล่นหุ้นมีทั้งคนได้เงิน และคนเสียเงิน
- คนได้เงินก็อยากได้เพิ่ม ,คนเสียเงินอยากได้คืน
- เป็นเรื่องธรรมดา เพราะในตลาดมีทั้ง นักเก็งกำไร และนักพนันจำนวนมาก

- การพนันไม่เคยทำให่ใครได้ดี
- การพนันเป็นกลอุบายนำไปสู่ความยากจนแท้จริง
- เมื่อชนะก็ดีใจ ใช้เงินอย่างไรคุณค่า
- เมื่อแพ้ ก็หม่นหมอง จิตใจห่ดหหู่ >> อยากเอาชนะ
- ยิ่งตั้งใจเอาชนะ >> ยิ่งติด >> ลงลึกจนยากจะถอนตัว

ถ้าเปลี่ยนการลงทุนหุ้นด้วยวิธี DSM เพื่อสร้างรายได้จากทรัพย์สิน รับกระแสเงินสดแฝง
และเงินปันผล >> วิธีนี้ไม่เป็นบาป >> ให้วิเคราะห์ว่าได้บาป หรือบุญดังนี้
- ตอนขายเราขายหุ้นที่ราคา Bid ทันทีโดยเฉพาะหุ้นกองหลังจะขายที่จุด Low ของวันของรอบ
-- แสดงว่า คนซื้อหุ้นได้รับหุ้น ที่ถูกกว่านักเก็งกำไนคนอื่น
-- ขายหุ้นให้คน ซื้อในราคาที่เต็มใจ
-- ทำให้ผู้อื่น ได้รับความสุข (ได้หุ้นในราคาถูก)
- ตอนซื้อหุ้น ซื้อที่ราคา Offer ทันที และซื้อที่จุด High สุดของวันของรอบ
-- แสดงว่า คนขายหุ้น ได้ขายหุ้นที่ราคาสูง
-- ทำให้ผู้อื่น ได้รับความสุข (ได้หุ้นในราคาแพง)

- จากการวิเคราะห์ จะได้บุญ ทั้งตอนขาย และตอนซื้อ
- ทำให้ผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ต้องการ (ซื้อถูก ขายแพง)
- เลยส่งผลให้ผู้ลงทุนในวิธี DSM มีความสุข
- ควรเผยแพร่วิธีการลงทุน DSM ไปเรื่อยๆ >> เพื่อคนที่ลงทุนได้รับ ผลบุญนี้

- เคล็ดลับที่ไม่ลับ คือ ขายที่จุด Low ซื้อจุด High
- ขายจุด Low แต่เป็น ราคาที่สูงกว่า จุดซื้อในอนาคต
- ซื้อจุด High เป็นราคาที่เคยขายมาก่อน

DSM [23] 10 คำถามที่ดีย่อมได้คำตอบที่ดี
- ทำอย่างไรถึงซื้อหุ้นคืนได้ทั้งหมด
-- มิติเวลาเป็น Infinity >> ไม่ต้องกลัวซื้อคืนไม่ได้
-- สามารถซื้อคืนได้เสมอ เพียงแต่รอราคาต่ำกว่าที่ขาย
-- ถ้าราคาไม่ขึ้นไม่ลง ก็รอแตกพาร์ >> ค่อยซื้อ
-- ซื้อต่ำกว่าที่ขายถือว่าใช้ได้

- เมื่อซื้อคืนได้หมดแล้ว และเปลี่ยนเป็นขาขึ้น จะทำอย่างไรกับหุ้นในมือ ?
-- เอากระแสเงินสดแฝง เข้าซื้อหุ้นเพิ่ม (หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน)
-- ปล่อยเล่นเป็นกองกลาง
-- กองหน้าเล่นขาขึ้นตามลำดับ
-- การขึ้นของหุ้น จะมีหุ้นตก "เรียกขาลงในขาขึ้น"
-- มีจังหวะทำเงินตลอดเวลา >> อยู่ที่เกรฑ์ที่ตั้งไว้

- การวัดผลการดำเนินงาน (พอร์ตหุ้น) ใช้อะไรเป็นตัววัดบ้าง
-- ค้นหาคำตอบใน DSM [27] - หลักการ และตัวชี้วัดทั้ง 8 ตัว

- หน้าที่ของหุ้นในพอร์ต คืออะไร ?
-- สร้างรายได้กระแสเงินสดแฝง ,เพิ่มมูลค่าเรื่อยๆ เหมือนการออกลูกออกหลาน

- หน้าทีของกองหลัง คืออะไร  ?
-- ทำให้รู้ถึงจุดต่ำสุด
-- อย่ามองว่าเป็นหุ้นที่ปล่อยคุมพื้นที่
-- มองเป็น เงินทุนสำรองสำหรับ ขยายงานในภาวะฉุกเฉิน
-- เป็นแหล่งเงินสำรองสำหรับรองรับความผิดพลาด

- หน้าที่ของกองกลาง คืออะไร
-- ใช้ตอนตลาด Sideway (ตลาดเลือกทาง)
-- ไม่ทำให้เราเสียหุ้นในมือเร็วมากเกินไป

- หน้าที่ของกองหน้า คืออะไร ?
-- ใช้ตอนตลาดขาขึ้น (บุกตะลุยขายในราคาสูง)
-- กำหนดราคาสูงกว่า กองหลังตัวบน 15 ช่อง

- หน้าที่ของกระแสเงินสดแฝงคืออะไร
-- เพิ่มหุ้น ลดทุน สร้างรายได้ เป็นเงินสำรอง

- หน้าที่ของเงินสำรองหนี้ 25% คืออะไร
-- ค้นหาคำตอบใน DSM [25] - กระแสเงินสดแฝง คืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร

- หน้าที่ของเงินลงทุนเพิ่ม (75% ของกระแสเงินสดแฝง) ใช้งานอย่างไร
-- ใช้เพิ่มการลงทุน
-- ซื้อหุ้นที่เหลือน้อย หรือขยายการลงทุน
-- ซื้อหุ้นที่อยากได้เพิ่ม
-- 75% มาจากการรวม 2 ส่วน (เงินลงทุนเพิ่ม50% +ค่าใช้จ่ายบริหารงาน25%)

DSM [24] DSM รับประกันเงินต้นคืน 100%
- ทำไมการลงทุนในหุ้นถึงไม่มีใครรับประกันเงินต้น >> ทั้งที่โบรคเกอร์ชื่อดังวิเคราะห์
- ทั้งที่ในโลกนี้มีการประกันมาก ประกันชีวิต ,ประกันอัคคีภัย ,รับประกันรสชาติ
- เมื่อราคาไม่เป็นไปดังที่ โบรคเกอร์คาดหวังไว้ รับประกันเงินต้น
- แล้วจำทำอย่างไร ?

- เราเป็นนักลงทุน ทำไมไม่รับประกันเงินต้นเสียเอง
- นักลงทุนที่ฉลาดจะรับประกันเงินต้นตัวเอง
- นักลงทุนที่ไม่สามารถรับประกันเงินตนเองได้ เรียกว่า นักพนัน
- ในโลกการลงทุนมีนักพนันหลายคน เรียกตัวเองว่านักลงทุน
- การเป็นนักลงทุนทำอย่างไร ? เป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดทำอย่างไร ?

-  การลงทุนหุ้นวิธี DSM ที่ประกันเงินต้น ให้นักลงทุนเอง (รับประกันถึง 100%)
- แม้ราคาจะไม่สูงเหมือนตอนซื้อตอนแรกก็ตาม
- การลงทุนหุ้นวิธี DSM เป็นการสร้างรายได้ ก่อกระแสเงินสดแฝง จากการเคลื่อนไหวราคาหุ้น
- แบ่งสัดส่วนเงิน 25% เงินสำรองหนี้ >> ดึงเงินต้นออกจากเงินต้นทุน >> เมื่อครบตามจำนวนเงินต้นที่ลง
>> อย่างนี้เรียกว่า การรับประกันคืนเงินต้น 100%

- การลงทุนหุ้นวิธี DSM เป็นการประกันเงินต้นคืน 100%
- ได้ทรัพย์สินเพิ่มจำนวนมาก
- การลงทุนหุ้นวิธี DSM ดึงเงิน 25% เป็นเงินสำรองหนี้ออกจากระแสเงินสดแฝง
- เมื่อดึงเงินครบ 100% เป็นวิธีรับประกันเงินต้น
- วันนั้นเป็นวันที่ มีเงินพอร์ต 4 เท่า
- 3 เท่าจากกระแสเงินสดแฝง 1 เท่าจากจำนวนเงินเริ่มต้น

DSM [25] กระแสเงินสดแฝงคืออะไร แบ่งรายได้อย่างไร ?
- กระแสเงินสดแฝง (Phantom cash flow) คือการลดค่าของทรัพย์สิน(หุ้น) ที่ถือครอง
- ได้กระแสเงินสดออกมาจากทรัพย์สิน โดยที่ยังถือทรัพย์สินนั้นอยู่
- "กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช้กำไรเมื่อขาย"
- การรอให้ราคาหุ้นสูงขึ้น ถือว่าช้า และเสี่ยงมาก

- เปรียบเทียบ มีอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า
- เก็บค่าเช่าทุกเดือน(กระแสงเงินสดแฝง)
- เราเป็นเจ้าของอสังหริมทรัพย์ (หุ้น)
- ถ้าเราอยากสร้างกระแสเงินสดจากธุรกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เราทำอย่างไรดี ?

หลังจากได้กระแสเงินสดแฝง เอาไปทำอะไรดี แบ่งอย่างไรดี
แบ่งเป็น % ตามสัดส่วนดังนี้
- 50% นำไปลงทุนหุ้นตัวเดิม หรือหุ้นตัวใหม่ เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดแฝง
- 25% นำไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว
-- ถ้าได้มากพอ หรือมากกว่างานประจำ สามารถออกจากงานประจำได้
- 25% นำไปเป็นเงินสำรองหนี้ (สำคัญมาก)
-- สามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาล แบ่งตามความสำคัญดังนี้
--- ดึงเงินต้นออกจากพอร์ต ถ้าได้ทั้งหมดพอร์ตเป็นของฟรี
--- นำไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ -คอนโดให้เช่า ,บ้านให้เช่า
--- นำไปลงทุนสร้างธุรกิจ -สร้างกระแสเงินสดต่อเนื่อง
--- นำไปลงทุนในตราสารหนี้ -ตั๋วคงคลัง ,หุ้นกู้
--- นำไปลงทุนตราสารทุน ในหุ้นที่มีปันผลดี แต่ขาดสภาพคล่อง
--- นำไปลงทุนกองทุนรวมต่างๆ -RMF ,LTF ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้
--- นำไปลงทุนประกันชีวิต -เน้นที่ออมทรัพย์
--- นำไปลงทุนสลากออมสิน -ซื้ออย่างน้อย 10,000 เลข
--- นำไปลงทุนฝากแบงก์ประจำ
--- นำไปลงทุนทรัพย์สินมีค่าต่างๆ -ทองคำ ,อัญมณี
--- นำไปลงทุน สร้างบุญไว้ชาตินี้ และชาติหน้า -บริจาก ,สร้างโรงเรียน
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า"คนที่ประสบความสำเร็จ สู้เป้นคนที่มีคุณค่าไม่ได้"

- นักลงทุนมืออาชีพต้องรู้ 3 สิ่ง
-- เมื่อใดที่จะเข้าตลาด
-- เมื่อใดที่จะออกจากตลาด
-- จะเอาเงินของเขาออกจากตลาดได้อย่างไร ?
- นักลงทุนมืออาชีพต้องเล่นด้วยเงินของคนอื่น

- เปรียบเทียบกับเกมส์ที่ต้อง เอาเงินออกจากตลาด และคงอยู่ในตลาดหุ้นด้วยเงินของคนอื่น
-- ในวิธีการลงทุน DSM นั้นคือ กระแสเงินสดแฝง
-- 25% ของเงินสำรองหนี้ เป็นทางออกของการนำเงินออกจากตลาดหุ้น โดยอาศักการหมุนเวียนของเงิน
-- ยิ่งมีเงินของเราอยู่ในการลงทุนมากเท่าไหร่ ผลตอบแทนการลงทุนยิ่งต่ำลงเท่านั้น
-- ยิ่งมีเงินของเราอยู่ในการลงทุนน้อยเท่าไหร่ ผลตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วย
-- DSMers ต้องเอาเงินของตนออกจากตลาดให้เร็ว และลงทุนหุ้นด้วยเงินของคนอื่น

DSM : Densri Method : EP7

DSM [19] เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบลึกซึ้ง
เปรียบเทียบ VI กับ DSM เจาะลึกแบบถึงลูกถึงหุ้น
- การมอง และการคิด
VI - ข่าวดีปล่อย ข่าวร้ายซื้อ >> เข้าใจว่าหุ้นตกชั่วขณะ >> เชื่อว่าบริษัทมีกำไรยั่งยืน
-- เราได้ของดีราคาถูก ไม่ยอมให้อารมณ์ชักนำ
DSM - มองหุ้นที่ถือครอบครองเสมือนเป็นทรัพย์สิน >> ต้องสร้างรายได้จากทรัพย์สิน
-- ได้รับกระแสเงินสดแฝง เปรียบเสมือนเก็บค่าเช้าจากทรัพย์สิน
-- เริ่มจากเข้าใจการลงทุน >> ความคิดการลงทุนเปลี่ยน >> ได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
-- หุ้นตกยิ้มได้ หุ้นขึ้นก็ยังยิ้มได้

- ขาขึ้น
VI - ปล่อยให้พอร์ตโตระยะยาว
DSM - ปล่อยให้พอร์ตโตตามกระแสเงินที่วางไว้ (ได้รับกระแสเงินสดมาก >> มีความสุขมาก)

- ขาลง
VI - เก็บให้เยอะที่สุด โดยเฉพาะตอนราคาตก (เก็บสะสม แต่เพิ่มเงิน)
DSM - ขาย Short ทีละ Step จับคู่ซื้อคืน
-- ซื้อราคาถูกกว่าที่ขาย เท่ากับได้กระแสเงินสดแฝง (Phantom Cash Flow)
-- นำเงินกลับมาซื้อสะสมหุ้นเพิ่ม
-- พอร์ตโตขึ้นเรื่อยๆ

- การวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน
VI - หุ้นเด่น >> เลือกจากพื้นฐานที่แข็งแกร่ง (P/E ,P/B ,หนี้น้อย ,เงินสดมาก) เติบโตระยะยาว
- หุ้นที่ดูด้อย >> หุ้นที่มีปัญหาปัจจุบัน แต่ยังมีสินทรัพย์ และเงินสดเหลือ
(อาจได้หุ้นราคาถูก และคนอื่นมองข้าม)
- เลี่ยงหุ้นที่ร้อนแรง และสินค้าที่แข่งราคา
DSM - แม้ปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช้หัวใจหลักของกระแสเงินสดแฝง >> แต่ต้องเลือกหุ้นที่แข็งแกร่ง >>
เติบโตระยะยาว (Set50 ,Set100) >> หุ้นตกสุดท้ายดีดกลับมา
- ถ้าต้องการถือหุ้นที่ถือยาว โดยไม่ขายทิ้ง พิจารณาหุ้นที่เด่น และแกร่งในวงการ
- ระวังหุ้นพื้นฐานดีแต่นิ่ง เนื่องจากทำกระแสเงินสดแฝงได้ช้า
- การวิเคราะห์งบการเงินไม่ใช้เรื่องที่ดี (งบการเงินตกแต่งหลอกได้)

- การวิเคราะห์ทางเทคนิค
VI - ไม่จำเป็น >> หาความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการอยู่รอดของกิจการ
DSM - ไม่จำเป็น >> เป็นการเสียเวลา (เอาอดีตมาดูอนาคต) รายใหญ่สร้างกราฟได้

- จุดเด่นของแต่ละวิธี
VI - ซื้อหุ้น เพื่อหวังครอบคลองกิจการ ดูคู่แข่ง เปรียบเหมือนหา ห่านทองคำ เพื่อเลี้ยง และเก็บไข่ขาย
DSM - มีหุ้นมากตัวได้ แต่การสวิงของหุ้นต้องสูง เพราะจะได้กระแสเงินสดจากราคาหุ้นตก
-- ต้องมีการสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากกระแสเงินสดแฝงที่ได้
-- สุดท้ายคืออิสรภาพทางการเงิน

- กระแสตลาด และความเป็นไปของสังคม กับการตัดสินใจลงทุนซื้อขาย
VI - อย่าตื่นข่าวลือ ,ระวังหุ้นร้อนแรงเพราะปั่น
- คอยเก็บหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อราคาตก
- มองหาหุ้นตัวอื่นที่กิจการยังดี ที่คนไม่ค่อยสนใจ
- ระวังเรื่องอัตราดอกเบี้ย ถ้าเพิ่ม มูลค่าธุรกิจจะลดลงเสมอ (หุ้นจะตก)
DSM - ไม่ต้องใช้ความรู้รอบตัวกับเหตุการณ์มาก (อาจทำให้ไขว้เขว)
- ยึดทำตามแผนการสม่ำเสมอ
- การวิเคราะห์การเงิน ,ข่าว ไม่ค่อยมีประโยชน์ (คนวงในปล่อยกันเอง)
- ใช้วินัย >> เก็บกระแสเงินสดแฝง >> ค้นหาอิสรภาพทางการเงิน
- ทำตัวเองให่สุขุม เยือกเย็น โดยเฉพาะตอนหุ้นลง (คนอื่นเกิดความทุกข์)
- นักลงทุนวิธีการนี้มีความแตกต่าง เอกลักษณ์เฉพาะตัว

- การให้เวลา
VI - ไม่ต้องนั่งเฝ้ามากนัก ดูแลและตัดสินในเมื่อตลาดไม่น่าไว้วางใจ
DSM - ต้องรอคอยการตกของหุ้น อย่างสบายใจ จับคู่ "ขายเพื่อซื้อ" หรือ "ขายเพื่อสร้างโอกาสซื้อ"
- ควรปล่อยไห้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิต

- การใช้ชีวิต
VI & DSM - เรียบง่าย อยู่แบบสบายๆ ตามพระราชดำรัส อยู่แบบพอเพียง ไม่ยึดติด "รวยเพราะพอเพียง"
- แบ่งรายได้ส่วนเกินไปช่วยเหลือสังคม หรือทำบุญบ้าง
- นำมาหาความสุขไส่ตนบ้าง เพราะเงินเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี

- เราใช้วิธีการลงทุนแบบ DSM กับหุ้น เปรียบเทียบว่า ยังต้องการดูแลกิจการด้วยตนเองอยู่
- เมื่อวันหนึ่งเราได้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ >> ไม่ต้องคอยดูแลกิจการที่วางไว้
- ณ ตอนนั้นคงถือเป็นนักลงทุนแบบ VI ได้เต็มตัว

DSM [20] เปรียบเทียบการลงทุนทุนของ VI ,DSM กับอสังหาริมทรัพย์
- เปรียบเทียบการลงทุน VI ,DSM กับอสังหาริมทรัพย์
VI - คนที่รู้ว่าทำเลทองอยู่ที่ไหน >> กว้านซื้อในราคาที่ถูก >> แม้มีคนขอซื้อแพงก็ไม่ขาย
- รู้ว่าจับจองทำเลทองไว้อยู่
- เมื่อมีคนรู้มากขึ้น >> คนแห่มาลงทุน >> กำไรไหลมาเทมา
- รายได้ ได้จากค่าเช่า ,ราคาที่ดินก็เพิ่มตามเวลา
DSM - คนที่ประมาณได้ว่าทำเลทองอยู่ที่ไหน >> เลือกที่คนพลุกพล่านหน่อยๆ
- ซื้อคล่อง ขายคล่อง
- แต่จะไม่รู้ว่า ราคาตอนที่ซื้อเหมาะสม หรือยัง
- เอามาแบ่งขายเป็น lot เล็กๆ >> ถ้าตลาดมีความต้องการสูงก็ โก่งราคาหน่อยๆ
- ถ้าปล่อยไปแล้วไม่มีคนเอาก็ ตั้งราคาถูกลงอีก
- ขายไปแล้ว ค่อยๆ ทยอยซื้อคืน >> ซื้อคืนเมื่อราคาตกลงมากว่าราคาขาย
- รายได้จากการปล่อยขาย เราก็เอาไปลงทุนทำเลอื่น หรือเพิ่มที่ทำเลเดิม ตามแผนการลงทุน

VI - ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเฟ้นหาทำเลทอง >> ประเมินมูลค่าทำเล
- เงินสดจะเก็บเอาไว้จนกว่า จะเจอทำเลทอง
DSM - เวลาส่วนใหญ่ จะใช้ในการวางแผนว่า พรุ้งนี้ซื้อขายอะไร ที่ราคาเท่าไหร่

- คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเวลาส่วนใหญ่ในการลงทุนแบบ DSM หมดไปกับการเทรด
- จริงแล้วเวลาส่วนใหญ่หมด กับการวางแผนหลังตลาดปิด
- ปกติการลงทุนแบบ DSM ใช้เวลาวางแผนขึ้นอยู่กับ จำนวนหุ้นที่ติดตาม (ทั้งถือและไม่ถือ)
- ส่วนเวลาการเทรดมักใช้เวลาสั้นๆ (ติดตามตลาด)

- คิดเป็นแนวทางลงทุนที่สำเร็จแน่นอน
- แทบปราศจากความเสี่ยง (หมดเนื้อหมดตัว)
- ให้ผลตอบแทนที่พึงพอใจ "ถ้าสามารถรักษาวินัยการลงทุนได้อย่างเคร่งครัด"
- ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินใจ เพราะตัดสินใจ ตั้งแต่ตอนวางแผนแล้ว

ถ้าต้องการลงทุนแบบผสมระหว่าง VI และ DSM สามารถทำได้
- VI ซื้อหุ้นมาได้ตอนถูกแล้ว >> ถือรอจนผลตอบแทนสูง (จำนวนหุ้นเท่าเดิม)
- ระหว่างที่รอราคาขึ้น เราก็ลงทุนแบบ DSM ไปด้วย
- เราจะได้หุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- อย่างนี้เรียก ลงทุนแบบ DSM พันธุ์ทาง ไม่ได้เรียก ลงทุนแบบ DSM พันธุ์แท้

DSM [21] เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์ ทำอย่างไร ?
- การเลือกหุ้น ลงทุนแบบ DSM ควรเลือกหุ้นออกมาจาก SET50 ,SET100 เป็นตัว Big CAPS
- ถ้าหุ้นพวกนี้ขึ้น SET ก็ขึ้น ถ้าลง SET ก็ลง

แล้วถ้าเลือกหุ้นผิดจังหวะจะทำอย่างไร ?
Ex หุ้น N-PARK ราคาล่วงจาก 9.60 >> 0.75 ในเวลาปีเศษ
มีหลักยึดง่ายๆ คือ
- กฎการออก
- กฎการควบคุมหุ้น (ตัวปัญหาในมือ)
- กฎการเข้าซื้อหุ้น

- นักลงทุนต้องคิด และวางแผนไว้ล่วงหน้า >> ถ้าหุ้นล้ม เราจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
*เน้นย้ำนักลงทุนทุกท่านว่า "ให้ซื้อหุ้น ที่เหลือในมือน้อย"
- หุ้นตัวใด ขายแล้วซื้อคืนได้ตลอด หมายความว่าหุ้นตัวนั้นราคาค่อยๆ ลงมาเรื่อยๆ
- หากไม่กำหนดราคาสุดท้ายที่จะออกจากหุ้นตัวนั้น ก็ควรที่จะไม่เพิ่มจำนวนหุ้นนั้น

มีคำกล่าวฝากนักลงทุนทุกท่านว่า
"หุ้นที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม"

ถ้าลงทุนกับหุ้นบางตัวที่มีการเคลื่อนไหวมาก >> กิจการไม่ดี โดนขึ้นเครื่องหมาย SP
จะทำอย่าไงดี ? >> ต้องตอบคำถามเหล่านี้ก่อน
- เราต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นหรือเปล่า ?
-- ถ้าตอบว่า ยังต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นต่อ >> หลังปลดเครื่องหมาย SP >> ทำตามแผนต่อ
-- ถ้าตอบว่า ไม่ต้องการแล้ว >> ไม่ต้องฝืนใจอย่กับหุ้นตัวนั้น

DSM : Densri Method : EP6

DSM [16] - DSM 7 ข้อดั่งแก้วสารพัดนึก
แก้วสารพัดนึกแบ่งเป็นข้อๆ
- DSMers เป้าหมายคือ เก็บสะสมหุ้นให้ได้มาก โดยไม่ใช้เงินเพิ่ม
- DSMers ไม่สนใจว่าพอร์ตมีมูลค่าเพิ่มหรือลด
- DSMers สนใจแต่กระแสเงินสดแฝง >> กระแสเงินสดแฝง=รายได้ >> เพิ่มจำนวนหุ้น
-- การแร่งกระแสเงินสดแฝง >> โดยที่เราไม่เข้าใจ >> เป็นอันตราย
-- การใช้กระแสเงินสดแฝงในอนาคน ปลอดภัยแล้ว
-- ไม่ชำนาญพอร์ตอาจชอร์ตได้
-- จุดสำคัญของการขยายพอร์ต >> ต้องไม่เกินกระแสเงินสดชอร์ต
-- เมื่อใดที่เพิ่มเงินเพราะ กระแสเงินสดชอร์ต >> สูญเสียการควบคุมบัญชี
-- เปรียบเหมือนการลงทุนแล้ว เพิ่มเงินเข้าไปเพิ่ม
- การเข้าซื้อเป็นส่วนสำคัญ
-- การเข้าซื้ออย่างไร ล้วนเป็นการฝึกฝน ตามแนวทางของตน
-- ซื้อแล้วหุ้นลง สามารถสร้างกระแสเงินสดได้เลย
-- ซื้อแล้วหุ้นเพิ่ม >> มูลค่าเพิ่มขึ้น (อนาคตได้รับกระแสเงินสดมากขึ้น) ล้วนดีทั้งนั้น
-- อย่าลืมว่า ไม่ได้ดูที่มูลค่าพอร์ต ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร
- DSM ไม่มีวิธีที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ โดยยึดหลัก และแนวคิดเหมือนเดิม
- DSMers ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ รับมือกับสถานการณ์หลักของหุ้น (ขาขึ้น ,ขาลง ,ไซค์เวย์)
-- คิดและปรับใช้ ให้ตรงกับการบริหารพอร์ต ตามนิสัยหุ้น และของนักลงทุนเอง

- DSM ใช้ได้ดั่งใจนึก ไม่ได้มาจากทฤษฎี หรือการคำนวณExcel ที่แน่แท้
- ต้องลงทุนตามแนวทางนี้ และเก็บข้อมูลตัวเรา และ พอร์ตของเรา + วิธีการเทรดอย่างต่อเนื่อง
- ปรับใช้ให้เหมาะสม ตามนิสัยของเราเอง

DSM [17] - Q&A DSM จากใจถึงใจ
Q : สิ่งที่สำคัญที่สุดใน DSM คืออะไร
A : แนวคิด และใจ (วิธีการมาทีหลัง พลิกแพลงได้ตลอดเวลา)
- แนวคิดที่สำคัญจริงๆ คือ ต้องการหากระแสเงินสดแฝงจากการซื้อขายหุ้นในพอร์ต
- ลงทุนเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ต
- มูลค่าพอร์ตเป็นอย่างไรไม่ใช้ประเด็นหลัก
- เลือกที่จะเป็น DSMers ห้ามเดาตลาด
- DSMers แท้ต้องไม่เดาตลาด ,ไม่สนมูลค่าพอร์ต
- ถึงราคาขายตาม Step ถึงเวลาซื้อ ซื้อตามStep รในะยะยาวเห็นผลเอง

Q : ขายไปแล้ว ซื้อคืนไม่ได้ ทำอย่างไรดี
A : ทำไมถึงซื้อคืนไม่ได้ >> หุ้นขึ้นไปแล้ว
- หุ้นขึ้น >> ถึงจุดขายชอร์ตแล้ว ต้องมีช่วงห่างจากจุดขายพอควร >> ขายไปทีละ Step >>
ถ้ายังซื้อคืนไม่ได้ >> ถ้าหุ้นไปต่อ  >> ขายทีละ Step >> (เห็นไหมว่าเราขายหุ้นในขณะหุ้นขึ้น)
- การที่เราข่นหุ้นในขณะหุ้นขึ้น >> เราได้กระแสเงินสดมากกว่าตอนที่เราซื้อ
- ภาษาเกร็งกำไร เรียกว่าขายได้กำไร
- ไม่ต้องสนใจว่าซื้อคืนไม่ได้
- ถ้าหุ้นเหลือในมือประมาณ 10 - 20% แสดงว่าหุ้นขึ้นมามากแล้ว (สมมุติสูงกว่าราคาซื้อ 50 ช่อง)
- ซื้อกลับคืนไม่ได้ >> ใช้ช่องว่าง >> นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นของกองหลัง (อีกนานจะซื้อคืนได้)
>> ไปซื้อหุ้นตัวอื่น (ซึ่งเล็งแล้วว่า ถูกกว่ากองหลังที่ขายไปแล้ว)
- ถ้าหาหุ้นที่เราจับตาดูอยู่ และอยู่ในจุด Oversold จะได้ผลดีมาก

Q : ทำไมถึงนำเงินกองหลังตรงนี้ไปซื้อหุ้นตัวอื่น
A : หุ้นขึ้นลง โดยเฉพาะหุ้นพื้นฐานดี วิ่งขึ้นลง 50 ช่อง ใช้เวลาค่อนค้างนาน
- ระหว่างนั้นถ้าไม่ทำอะไร กับกระแสเงินสดจะทำให้เสียโอกาส (มีหุ้น = สร้างรายได้)
- รายได้คือกระแสเงินสดแฝง
- นำเงินเข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้คือการแปลงร่าง

Q : ทำไมการนำเงินส่วนนี้เข้าซื้อหุ้นที่เล็งไว้ จะไม่ทำให้กระแสเงินสดเกิดการไม่สมดุล
A : เพราตอนเราขายหุ้นตัวแรกไป เราได้เงินสดมากกว่า ตอนที่เราซื้อมันเข้ามา
- การนำกระแสเงินสดออกมาซื้อหุ้นตัวอื่นในปริมาณที่เราสบายใจ
- กระแสเงินสดจะเกิดการชอร์ตได้น้อยมาก (เกิดการขาย)

Q : ระบบบัญชีไม่ทำได้หรือไม่ ?
A : ได้แต่เจ้งแน่นอน - ต้องทำบัญชี >> บัญชีเป็นส่วนหนึ่งของการลงทันแนวนี้ (สำคัญมาก)

Q : ทำไม่ต้องมีการแบ่งกระแสเงินสดแฝง ก่อนการขนานพอร์ต (25%ใช้สำรอง ,25%ใช้จ่าย ,50%ขยาย)
A : ป้องกันกระแสเงินสดช๊อต >> สักระยะ >> ขยายงานมากๆ และเร็วเกินไป >> กระแสเงินสดไม่พอ >>
- ต้องมีการนำเงินออกมาใช้จ่าย (25% ใช้จ่าย)

Q : ควรซื้อเพิ่มเวลาไหน ?
A : เป็นจุดสำคัญมาก ของการเพิ่มมูลค่า และปริมาณหุ้นพอร์ต
- คุณเด่นศรีบอกว่า
-- ให้ซื้อหุ้นในมือเหลือน้อยที่สุด (หุ้นที่แข็งกว่าตลาด)
-- หุ้นที่ขึ้นมากมาย (มีโอกาสลง) >> ถ้าลงมาจะมีกระแสเงินสดแฝง
มีตัวเลือกอีกวิธีหนึ่ง
-- เลือกซื้อตัวที่เข้าจุด OverSold >> หุ้นจะมีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้มาก
-- การขยายหุ้นในพอร์ตจะช้ากว่า >> แต่ มูลค่าหุ้นจะลดลงน้อยกว่า >> เพิ่มเข้าสู่จุดคุ้มทุนเร็วกว่า

Q : ไม่ขายขาขึ้นทีละน้อยๆดีกว่า หรือไม่ขายดีกว่ากัน
A : แล้วแต่ความถนัด
- ส่วนตัวไม่ขายดีกว่า
- ถ้าขายทีละ 1 % แนะนำแบ่งเป็นอีกพอร์ตเก็งกำไรดีกว่า

Q : ไม่มีเวลาดูหุ้นทำอย่างไร ?
A : เปิดตลาดเช้า - บ่าย ดูหนึ่งรอบ ใกล้ปิดตลาดดูอีกรอบหนึ่ง (4 รอบ)
- ขายได้เท่าไหร่ขาย ซื้อได้เท่าไหร่ซื้อ
- จะได้กระแสเงินสดแฝงพอสมควร
- ต้องเลือกหุ้นที่ราคา ปิดเปิด ที่วิ่งมีความห่างพอสมควร

Q : ฉันอยากรู้ว่าฉันเหมาะกับ DSMers หรือเปล่า ?
A : ก่อนทดสอบทำดังต่อไปนี้
- อ่านหนังสือพ่อรวยสอนลูกเล่มต่างๆ >> ดูด้วยว่าเห็นด้วยกับอิสรภาพทางการเงินหรือไม่ ?
- อ่านกระทู้หลักๆ เพื่ออิสรภาพทางการเงินเสียก่อน >> ทดสอบ >> ทดลอง >> ปรับใช้ >>
ถ้ายังทำต่อ คุณก็เป็นDSMers มาครึ่งตัวแล้ว

วิธีการทดสอบคือ
- เปิด 2 พอร์ต แบ่งพอร์ตละเท่าๆกัน
-- ทดสอบพอร์ต หนึ่งเป็น DSM อีกพอร์ตหนึ่งเป็นเกร็งกำไร >> ครบหนึ่งปีสรุปผล (การเติบโต)
- ถ้าหุ้นขาขึ้น พอร์ตเกร็งกำไรอาจได้มาก >> แต่หุ้นมีรอบ (มีขึ้นมีลง) >> เราสามารถทำกำไรได้หรือเปล่า
- วิธี DSM เปรียบเหมือนการเติมน้ำแก้วหลายใบที่มีก้นเดียวกัน
-- บางใบอาจเติมมาก บางใบอาจเติมน้อย >> แต่ไหลลงที่ก้นเดียวกัน >> ปริมาณน้ำค่อยๆเพิ่ม
-- ขออย่างเดียวอย่าให้แก้งแต่ (หุ้นเจ้ง)
- วิธีการทดสอบนี้ ในระหว่างทาง >> อุปนิสัย ,การมองโลก ,การแก้ปัญหา จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเทรด
- คุณอาจค้นพบวิธีที่จำนำทั้ง 2 มารวมเป็นด้านเดียวกับก็ได้

DSM [18] - DSM ความเหมือนที่แตกต่าง
เปรียบเทียบ ความแตกต่างการลงทุนชนิดอื่นๆ
- ลงทุนระยะยาว (VI = Value Investor)
- ลงทุนระยะสั้น เก็งกำไร (VS = Value Speculator)
- ลงทุนวิธี DSM

- ระยะเวลาการลงทุน
-- การลงทุนระยะยาว >> ถือหุ้นยาว
-- การลงทุนเก็งกำไร >> ถือหุ้นสั้น
-- การลงทุนวิธี DSM >> ถือหุ้นตลอดชีวิต

- การเลือกหุ้น
-- การลงทุนระยะยาว >> ดูพื้นฐานอย่างรอบครอบ
-- การลงทุนเก็งกำไร >> ดูหุ้นที่นิยมในขณะนั้น
-- การลงทุนวิธี DSM >> เลือกหุ้นที่ชอบ และอยู่ได้นานในตลาด

- เป้าหมาย
-- การลงทุนระยะยาว >> กำไร และเงินปันผล
-- การลงทุนเก็งกำไร >> กำไร
-- การลงทุนวิธี DSM >> รายได้จากกระแสเงินสดแฝง และเงินปันผล

- เมื่อหุ้นเป็นขาลง
-- การลงทุนระยะยาว >> เพิ่มเงินลงทุน เพื่อซื้อหุ้นเพิ่ม
-- การลงทุนเก็งกำไร >> ถือเงินสด รอตลาดขาขึ้น
-- การลงทุนวิธี DSM >> เพิ่มหุ้น โดยไม่เพิ่มเงิน

- เมื่อหุ้นเป็นขาขึ้น
-- การลงทุนระยะยาว >> ถือยาว รอทำกำไรตามสถาวะตลาด
-- การลงทุนเก็งกำไร >> ทำกำไรเป็นรอบๆ
-- การลงทุนวิธี DSM >> เพิ่มหุ้น โดยอาศัยกระแสเงินสดแฝง และช่องว่าง

- เมื่อเกษียณ
-- การลงทุนระยะยาว >> รับเงินปันผล
-- การลงทุนเก็งกำไร >> ไม่มีรายได้ เนื่องจากไม่ได้ซื้อขายหุ้น
-- การลงทุนวิธี DSM >> รับเงินปันผล

- หากหุ้นมีมูลค่า เท่ากับ0
-- การลงทุนระยะยาว >> ขายตอนปัจจัยเปลี่ยน
-- การลงทุนเก็งกำไร >> รอดตามปัจจัยเทคนิค
-- การลงทุนวิธี DSM >> แปลงร่างหุ้นเป็นหุ้นที่ดีกว่า

- หุ้นที่ถือ
-- การลงทุนระยะยาว >> ยึดติดกับหุ้นที่ได้เลือกสรร แล้ว
-- การลงทุนเก็งกำไร >> ไม่ยึดติด
-- การลงทุนวิธี DSM >> ไม่ยึดติดกับหุ้นตัวใด

- ค่าคอมมิชชั่น
-- การลงทุนระยะยาว >> มาร์เก็ตติ่งไม่ชอบเพราะ ไม่ค่อยซื้อขาย
-- การลงทุนเก็งกำไร >> มาร์ ชอบตอนตลาดกระทิง(ขาขึ้น) เพราะซื้อขายบ่อย
-- การลงทุนวิธี DSM >> มาร์ ชอบตอนตลาดหมี(ขาลง) เพราะขายที่ละ 10%

- จิตใจ (ความหนักแน่น)
-- การลงทุนระยะยาว >> จิตใจต้องหนักแน่น มั่นใจสุดๆ
-- การลงทุนเก็งกำไร >> ใจเด็จ ขาดทุนคือขาดทุน
-- การลงทุนวิธี DSM >> จิตใจเยือกเย็น สุขุม ยืดหยุ่น ใจเป็นกลาง ปล่อยวาง

- วินัย
-- การลงทุนระยะยาว >> ไม่หวั่นไหว ไม่ซื้อขาย ถ้าไม่ใช้ราคาที่กำหนดไว้
-- การลงทุนเก็งกำไร >> อย่าปล่อยให้ กำไรเป็นขาดทุน
-- การลงทุนวิธี DSM >> เดินตามแผน ซื้อขายตามแผน อย่างเคร่งคัด

- เวลาที่ใช้ดูแลพอร์ต
-- การลงทุนระยะยาว >> ส่วนใหญ่หมดกับการ คัดสรรค์หุ้น
-- การลงทุนเก็งกำไร >> เฝ้าหน้าจอ action ตลอดเวลา
-- การลงทุนวิธี DSM >> เฝ้าหน้าจอ ดูเป็นระยะ สม่ำเสมอ

- เวลานอน
-- การลงทุนระยะยาว >> นอนเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะมีแผนไว้แล้ว
-- การลงทุนเก็งกำไร >> นอนไม่หลับ กระสับกระสาย กังวลในวันพรุ้งนี้
-- การลงทุนวิธี DSM >> มีวินัย นอนเป็นเวลา >> ตลาดเปิดก็ทำตามแผน >> นอนไปยิ้มไป

DSM : Densri Method : EP5

DSM [13] - ช่องว่าง และการแปลงร่างคืออะไร
- ช่องว่างของตลาดหุ้น
-- ให้ให้ถูกจังหวะ
-- ควบคุมการใช้ช่องว่างด้วยระบบบัญชี
- หุ้นสมดุลช่องว่าง >> ช่องว่างสมดุลด้วย >> ระบบบัญชี

- การแปลงร่าง >> จะแปลงไปเป็นหุ้นกลุ่มใดก็ได้
-- ขอเพียงให้มีราคาต่ำว่า และอยู่ในช่วง Spread หุ้นเดียวกัน
- เงินที่เหลือจากการแปลงร่าง >> ให้ถือเป็นกระแสเงินสดแฝง >> แต่เป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม >>
ไม่ควรแปลงร่างมากไป โดยไม่จำเป็น

- การแปลงร่างใช้กับหุ้นขาขึ้นเท่านั้น
- หุ้นขาลงจะไม่แปลงร่าง (ยกเว้นกรณีเปลี่ยนตัว เพราะต้องไล่หุ้นเดิมออกจาก พอร์ต)
- ปกติ จะใช้การแปลงร่างเมื่อ หุ้นเหลือในมือแค่ 10-20%

- การแปลงร่าง มี 2 แบบ
-- แปลงร่างเป็นตัวมันเอง  (ที่เหลือน้อย)
-- แปลงร่างเป็นหุ้นตัวอื่น >> หุ้นตัวอื่นแปลงร่างเป็นตัวมันเอง
- กางแปลงร่าง อย่างสมดุลซึ่งกัน และกัน

- การแปลงร่าง >> ไม่ใช้การเปลี่ยนตัวหุ้น
- การแปลงร่าง >> การขยายการลงทุนในจังหวะที่ต้องขยาย
Ex การแปลงจากหุ้น A >> B (ต้องดูแลทั้ง A,B) >> จะไม่ทิ้ง >> เมื่อมีจังหวะเก็บหุ้น A คืนได้ >>
ควรเก็บกลับคืนมา >> ทำให่พอร์ทของเราขยายหย่างเหมาะสม
- ไม่แนะนำให้ แปลงร่าง บ่อยเกินไป
- ทุกครั้งที่แปลงร่าง ต้องมีเหตุผล
- อย่าเห็นกระแสเงินสดแฝงเทียมเพียงอย่างเดียว

- การจะซื้อหุ้นตัวเดิมในราคาที่แพง โดยอาศัยกระแสเงินสดแฝง
--ซื้อเมื่อหุ้นตัวเดิมเป็นขาขึ้น >> และเหลือหุ้นในมือเพียง 10 - 20% (จากปริมาณเริ่มต้นมา) >>
หากซื้อแล้วขึ้นต่อ >> ทรัพย์สินจะมีมูลค่าสูงด้วย >> เหลืออีก 10 - 20% ก็ซื้อเพื่มอีก
-- เมื่อซื้อหุ้นตัวเดิมแล้วเป็นขาลง >> ทยอยเก็บคืนที่ขายไป >> การทำอย่างนี้ไม่มีผลต่อที่เหลือในพอร์ท
>> เพราะควบคุมได้ >>ถ้าสะดุดยังมีเงินสำรองหนี้(เงินที่ได้ดึงต้นทุนมาแล้ว)
- จากนั้นทำตามขั้นตอน ตามแผนซื้อ และขาย จะได้กระแสเงินสดแฝง
- กระแสเงินสดแฝง จะโป๊ะ กับหนี้ได้เองอัตโนมัติ
- ระบบบัญชีจะต้องรัดกุม >> ควบคุมการขยายของพอร์ท อย่างมีจังหวะ

ช่วง Spread แต่ละช่างราคาของหุ้น

- การแปลงร่าง หุ้นที่ขายไม่สามารถซื้อกับได้ >>ราคาก็ขึ้นไปสูงมาพอสมควร >>
ไม่สามรถซื้อกลับได้ ในระยะเวลาอันใกล้
Ex หุ้น A ราคา 9.20บาท จำนวน 1,000 หุ้น >> หุ้น B ราคา 8.20บาท 1000 หุ้น >>
ได้กระแสเงินสดแฝง 1,000 บาท (ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) เป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม

- การลงทุนหุ้นแบบ DSM สามารถลงทุนแบบ โน๊ตดนตรี (ติดตามบทที่ 30) >>
สามารถได้รับกระแสเงินสดที่แท้จริง  >> ไม่เหมือนกับ วิธีแปลงร่างได้กระแสเงินสดแฝงเทียม

DSM [14] - หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน
- ลงทุนด้วยวิธี DSM >> จะได้ยินคำกล่าวที่ว่า >> สามารถลงทุนได้ทั้ง ขาขึ้นและขาลง >>
หุ้นขึ้นได้เงิน หุ้นลงได้หุ้น >> เป็นคำกล่าวที่เสี่ยงมาก >> จริงๆต้องเป็น >>
"หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน"

หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน ?
- เปรียบการลงทุนหุ้นเหมือน การทำกิจการให้เช่าหุ้น
- กิจการที่ทำอยู่กำลังดี กำลังเติมโต ต้องเพิ่มการลงทุน ,ขยายกิจการออกไป
- กิจการก้ำกึ่งระหว่าง ดีหรือไม่ดี ไม่ควรเพิ่มการลงทุนห หรือขยายกิจการ

แยกระหว่าง "ซื้อหุ้นคืน" กับ "ซื้อหุ้นเพิ่ม"(เงินจากกระแสเงินสดแฝง)
- หุ้นเป็นขาลงเริ่มแดง ขายออกทุก 2 ช่อง ช่องละ 10% ไปเรื่อยๆ >>
จนกว่าหุ้นเริ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดมา 4 ช่อง >> ค่อยเข้าซื้อ อันนี้หมายถึง "ซื้อหุ้นคืน"
- "ซื้อหุ้นเพิ่ม" การเอากระแสเงินสดแฝงมาซื้อหุ้นเพิ่ม >> ซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อย >> หุ้นตัวนี้ขายดี
>> หุ้นขึ้น >> เปรียบเป็นกิจการที่ดี กำลังเจริญ >> ต้องมีการขยายงาน >> ถึงเริ่มมีการ "ซื้อหุ้นเพิ่ม"
>> จากเงินกระแสเงินสดแฝง
- การซื้อหุ้นเพิ่ม ต้องซื้อหุ้นอย่างน้อย 1,000 หุ้น หรืออย่างน้อย 200,000 บาท
- ซื้อแล้วสามารถทำงาน ใช้ทำงานได้ทันทีจากหุ้นตัวนั้น

- ถ้าต้องการซื้อหุ้นเพิ่ม >> โดยที่ยังไม่ได้เหลือหุ้น 10 - 20% จากของเดิมตัวนั้นๆ >>
กลัวเสียโอกาส ในการเพิ่มหุ้นกลับ
- เมื่อไหร่ ถึงจะ "ซื้อหุ้นเพิ่ม" ที่ใช้เงินจากกระแสเงินสดแฝงซื้อ >> ต้องสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม

การสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่ม
- นักลงทุนแต่ละท่านอาจไม่เหมือนกัน (แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน)
Ex หุ้น A ราคาตอนซื้อที่ 10 บาท เมื่อหุ้นลง 10.00 > 9.90 > 9.80 >..>8.90 >>7.00 ราคาเริ่มนิ่ง
มีแรงซื้อกลับ 4 ช่อง (7.20บาท) >>ซื้อหุ้นคืนทั้งหมด "เรียกซื้อหุ้นคืน" เงินที่ได้เป็นกระแสเงินสดแฝง
>> ถ้าต้องการซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่ม >> จะซื้อตรงไหน ? ให้แน่ใจว่าหุ้นขึ้นจริงๆ >>
ตั้งจุดซื้อหุ้นตัวใหม่อีก 5 ,10 ,15(ที่ราคา 7.95) ช่อง >> เพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นขึ้นจริงๆ

- ในการลงทุนด้วยวิธี DSM ลงเงินก้อนแรกไป ไม่ควรเพิ่มเงินลงทุนในพอร์ท
- เหมือนเราทำกิจการอะไรสักอย่าง ยังไม่รู้ว่ากิจการจะดีหรือเปล่า (รอดหรือเปล่า)
- เมื่อใดที่กิจการไปได้ดี มีผลตอบแทนดี สามารถเพิ่มการลงทุน หรือขยายกิจการได้

- การลงทุนด้วยวิธี DSM เหมือนการลงทุนทั่วไป ไม่มีข้อห้ามเพิ่มทุน แต่ เพิ่มทุนเพราะอะไร ? >>
เพิ่มเพราะกิจการ DSM ทำยอดตามเป้าได้ แบบนี้ควรเพิ่ม
- ถ้าลงทุนเพิ่มเพื่ออุดปัญหา แบบนี้ไม่ควรเพิ่ม
*ลงทุนเพิ่มในกิจการที่กำลังเจริญเติบโต เพื่อขยายกิจการ

DSM [15] - สิ่งที่ควรคิด เมื่อรักจะเป็น DSMers
นักลงทุนด้วยวิธี DSM ที่จะเรียกตัวเองว่าเป็น DSMers
1.) DSMers ต้องมีเป้าหมายชีวิต
-- ความฝันของเราคืออะไร >> มันเกี่ยวกับการลงทุนแบบไหน
-- ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ >> หาเป้าหมายระหว่างความฝัน กับการลงทุน
2.) ศึกษา DSM ให้ถ่วงแท้
-- ค่อยๆปรับใช้จนลงตัว
-- กำหนดให้เป็นแผน >> นำไปสู้เป้าหมายในชีวิต
-- DSM เป็นเพียงวิธีหนึ่งของการลงทุน
-- การลงทุนที่แท้จริงคือ แผนการที่จะนำไปสู่เป้าหมานชีวิตอย่างเป็น รูปธรรม
3.) ใช้เงินทำงานให้เรา ไม่ใช่ใช้ตัวเราทำงานเพื่อเงิน
-- DSM ตัวเงินไม่ใช้สิ่งที่สนใจ >> มองรายได้ที่เกิดขึ้น >> มองจำนวนหุ้นที่มากขึ้น
-- ควรมีการหักค่าบริหารพอร์ต >> เพื่อเป็นกำลังใจ
-- กำไรไม่มช้สิ่งที่เราสนใจ >> หารายได้จากพอร์ตการลงทุนของเรา

- เงินค่าของมันเป็นเพียงสื่อกลาง แลกเปลี่ยนสินค้า
- เงินผลิตตัวมันเองไม่ได้
- สิ่งที่ผลิตเงิน >> พอร์ตของเราต่างหาก
- กระแสเงินสดแฝงที่เกิดขึ้น ควรนำมาขยายพอร์ต
- หลักหักค่ายริหารพอร์ต >> ควรนำมาขยายหลักทรัพย์ >> วันหนึ่งจะกลายเป็นสินทรัพย์ถาวร

4.) สิ่งที่สำคัญ DSMers คือเวลา เพราะเป็นทรัพย์สินที่มีค่า และสำคัญมาก
-- ในหนึ่งวัน เรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน >> แต่ละคนใช้ไม่เท่ากันไม่เหมือนกัน
-- จะมีสิ่งที่เราทำได้ และทำไม่ได้ในบางช่วงชีวิต >> ถ้าเราไม่ทำสิ่งนั้น เราจะไม่ได้ทำสิ่งนั้นอีกเลย
-- แบ่งเวลาแต่ละช่วงในสมดุล
-- ใช้เวลาให้มีค่ามากที่สุด ต่อตนเอง และคนที่คุณรัก
*การลงทุน คือส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต
5.) ค้นหาอิสรภาพทางใจให้พบ
-- ระหว่างที่เราเหนื่อยล้า สับสน กับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น >> ในความผิดพลาดมีโอกาสเสมอ
-- เหรียญมี 2 ด้าน คนซื้อ ก็ต้องมีคนขาย
-- สิ่งที่ฉุดรั่งเราที่จะเดินต่อคือ ไม่ยอมแพ้ >> จิตใจตนเอง
-- ต้องค้นพบให้ได้ว่า ใจเราต้องการอะไร >> ถ้าทำได้ เราจะมีความสุข

DSM : Densri Method : EP4

DSM [11] - ระบบซื้อ - ขายหุ้นDSM
ระบบ ซื้อขายที่ดี คือส่วนสำคัญของ DSM
- การกระโดดเข้าสู่ สมรภูมิรบ บ่อยครั้งที่อารมณ์อยู่เหนือ เหตุผล >>  ทำให้เกิดการตัดสินใจพลาดบ่อยๆ
- หลายครั้งเราไม่กล้าชายหุ้นเมื่อหุ้นลง (ไม่ขายไม่ขาดทุน)
Ex มะนาว ซื้อมา 5 บาท ขายที่ 4 บาท ก็ขาดทุนไม่กล้าขาย (รอขึ้นมา 5 บาทค่อยขาย)
- หุ้นลงมามากก็ยิ่งตัดสินใจลำบาก

วีธีการลงทุน DSM
- สร้างระบบป้องกันตัวไว้อย่างแยบยล >> ตัดการขาย 10% >> ช่วยสร้างกระแสเงินสดแฝง
- ประกันความเสี่ยงหุ้น และมีหุ้นเหลือ 90%
- ปฎิบัติตามแผน (เมื่อถึงเวลาขายก็ขาย เมื่อถึงเวลาซื้อก็ซื้อ)

- ต้องมีแผนการก่อนการลงทุนในหุ้น
- หุ้นลงทำอย่างไร ,หุ้นขึ้นทำอย่างไร
- จำกัดเงิน และอารมณ์ตามตลาดหุ้น >> ประสบความสำเร็จตามแนวทางนี้

- การลงทุนควรเป็นแบบ อัตโนมัติ >> ไม่ต้องใช้ความคิด >> เป็นไปตามระบบ
- สร้างระบบ >> ทำหน้าที่แทนเรา

- การลงทุน DSM >> ไม่มีทุนเดิน
- ซื้อมาแล้ว ลบราคาซื้อออกไป
- ราคาขายขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละวัน
- ราคาซื้อคืน (ซื้อแล้วได้กระแสเงินสดแฝง) >> เป็นไปตามแผนที่วางไว้

DSM [12] - หลักการซื้อคืน 3 แบบ
หลัการซื้อคืน มี 3 แบบดังต่อไปนี้
1. ซื้อคืนเมื่อราคาต่ำว่าที่ขาย 5 ช่อง
2. ซื้อคืน เมื่อซื้อกลับมาได้รวดเดียว 3 ราคาที่ขายไป
3. ซื้อคืนเมื่อ หุ้นขึ้นจากจุดขึ้นมา 4 ช่อง
Ex ซื้อหุ้นที่ราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น (10 % = 1,000 หุ้น)
Ex1 - ขายหุ้นตามที่วางแผนไว้ คือขายที่ราคา 9.90 (10 >> 9.95 >> 9.90บาท) และรับหุ้นที่กลับที่ราคา
9.65 (10 >> 9.95 >> 9.90 >> 9.85 >> 9.80 >> 9.75 บาท)
Ex2 - ขายหุ้นทุก 2 ช่อง (ขายที่ราคา 9.90 > 9.85  >9.80 ... >9.55) >> ราคาหุ้นกลับมานิ่งที่ 9.55
สามารถรับกลับได้ที่ 9.90 ,9.80 ,9.70 ซื้อกลับ 3 ไม้ที่ขายไป
Ex3 ขายหุ้นไปตามที่กำหนดไว้ >> แต่มีแรงขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง)
-- ไม่ควรไปรับหุ้นกลับ (ต้องรอให้หุ้นลงจนสุด และนิ่ง) >> ราคาเริ่มขึ้นมาที่ 4 ช่อง ค่อยซื้อคืน
Ex3 ขายที่ราคา 9.90 >> 9.80 >> 9.70 >> 9.70 ... >> 9.00 ราคายังไงไหลลงเรื่อยๆ (ขายหมดมือไปแล้ว)
>> ราคาลงมาถึง 8.50 แล้วเริ่มนิ่ง มีแรงซื้อกลับมาที่ 8.70 (8.50 > 8.55 > .. >8.70) >>
ให้ซื้อคืนทั้งหมดกลับไป 10 ไม้
-- ถ้าลงต่อทำอย่างไร >> ให้ขายใหม่โดยเริ่มต้นที่ 8.70 บาทเป็นฐาน

- Ex3 - ใช้กับหุ้นที่มีจำนวนมาก >> หุ้นลง และซื้อกลับได้
- Ex1 - Ex2 - ใช้กับหุ้นที่เราเหลือจำนวนน้อย และส่วนที่เรายังซื้อไม่ได้เป็นกองหลัง (ขายไม่หมด)

- ข้อสังเกตุ ถ้าหุ้นไหลลงแรงมาก >> มีการลงหลายวัน
- ต้องรอให้หุ้นตกลงจนสุด (สะเด็ดน้ำ หรือมีดตกลงบนเขียง) >> ค่อยเข้าไปซื้อคืน >>
ขึ้นมาเขียวอ่อนๆ และขึ้นมา4 ช่อง เพื่อรับปรักันว่าขึ้นจริง >> แต่ถ้าลงก็ขายตามแผน
- วิธีการลงทุน DSM เป็นเพียงแนวคิด
- วิธีการใดที่ดีที่สุด สำหรับแต่ละบุคคลต้องค้นหาด้วยตนเอง

หลักการซื้อคืนข้อใดดีที่สุด ?
- ขึ้นอยู่กับสถาการณ์
- แต่ยึดหลักการ 3 ข้อหลัก
- การซื้อคืนหลังหุ้นขึ้น 4 ช่อง แสดงถึงนัยสำคัญ >> หุ้นมีโอกาสลงต่อน้อยลง
* ห้ามเดาตลาด (ไม่มีอะไรถูก 100%)  - ถ้ามีคงถูกหวย ^ ^

ความสำคัญในการซื้อหุ้นกลับคืน (ตัวอย่าง 1,2) กับการซื้อรวบยอด (ตัวอย่าง 3) แตกต่างกันหรือไม่ ?
- มีความแตกต่างกัน 2 อย่างดังนี้
-- การซื้อคืนแบบรวบยอดจะทำให้มีกระแสเงินสดแฝงมากกว่า
-- การไม่รับซื้อหุ้นคืน จะช่วยในยามที่
--- วงในมีข่าวร้าย และค่อยๆ ระบายหุ้นทิ้ง >> (การซื้อเร็วเกินไป จะจ้องมีการขายหุ้นอีก(ค่อยๆปล่อยของ))
- การซื้อคืน(แบบตัวอย่างที่ 1,2) กับการซื้อคืน(แบบตัวอย่างที่ 3) มีความแตกต่างกระแสเงินสดอย่างมีนัยสำคัญ

สิ่งสำคัญไม่อยู่ที่การซื้อคืน
"เมื่อหุ้นลงต้องขายลงมาเรื่อยๆ ตามแผนแล้วรีบซื้อกลับคืน" (สำคัญมากกว่าวิธีการซื้อหุ้นกลับคืนใดๆ)

DSM : Densri Method : EP3

DSM [7] - เริ่มต้นลงทุน DSM
- เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM แล้ว >> ถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น

กฎของการลงทุนหุ้น DSM
- ซื้อให้ถูกกว่าขาย
- เวลาไม่จำกัดในการซื้อคืน (ตลาดชีวิต)

- ตอนเริ่ม >> ถ้าสามารถซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำ >> หุ้นขึ้น >> มีกำลังใจในการลงทุนรูปแบบ DSM มาก >>
แล้วจะทำอย่างไร >> วิธีง่ายๆ
- หุ้นขึ้นกอดหุ้นวิ่ง
- หุ้นลงลงทุนด้วยวิธี DSM
- การซื้อในราคาต่ำเหมาะสม >> ไม่จำเป็นต้องซื้อในราคาต่ำที่สุด
* ไม่มีใครสามารถซื้อในราคาต่ำสุด และขายในราคาสูงสุดของราคาหุ้นได้

จะรู้ได้อย่างไรเวลาไหนควรซื้อ
- ประสบการณ์ >> จะเป็นตัวบอกเองว่าให้ซื้อตอนไหน
-- ไม่มีกฎตายตัว (ถ้ามีทุกคนรวยกันหมดแล้ว)
- เราไม่สามารถหาจุดซื้อที่ประกันได้แน่นอน (ว่าหุ้นจะขึ้น หรือลง)
- หาขจุดซื้อในหุ้นที่มีการขยับขึ้น (เขียวเริ่มอ่อน และราคาถูก)
- อาจฝืนความรู้สึกของคนบางคน
- ถ้าเคยซื้อที่ราคาถูก แล้วราคาลงมาอีก จะเข้าใจ

- ทุกสิ่งทุกอย่าง สำคัญที่จุดเริ่มต้น (สำคัญที่ก้าวแรก (ก้าวเดินด้วยความมุ่งมั่น))
- นักลงทุนสามารถสร้าง Model Trade ของแต่ละคนได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป
- ตอนแรกอาจมีล้ม แต่เราก็พยายามลุกขึ้นอีก จนสามารถวิ่งได้โดยอัตโนมัติ

DSM [8] - กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง
- ลงทุนในหุ้นแล้ว (เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า หุ้นขึ้น หรือลง)
- ดังนั้นจึงควรมีกลยุทธ์ไว้เตรียมรับมือ

Ex สมมุติ ซื้อหุ้นที่ราคา 10.00 บ. จำนวน 10,000 หุ้น
-- ราคาที่จะขายคือ ราคาBid ส่วนราคาที่จะซื่อคือ ราคาOffer
-- วิธีการคือ ถ้าราคาที่ื้ซื้อต่ำกว่า 2 ช่อง ให้ขาย10% >>
ขายครั้งแรกต้อง 2 ช่อง เพราะหุ้นลงจริง ไม่ได้ลงหลอกๆ จะได้ไม่เสียหุ้นง่ายเกินไป >>
และอย่ากลัวการขายเมื่อหุ้นลง(แดง) >> อย่ากลัวว่าซื้อหุ้นคือไม่ได้ >>
ไม่สามารถซื้อหุ้นคืนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ >> เดินตามแผนการลงทุนที่ทำไว้

- ถ้าราคาลงมาแบบนี้
-- ราคาลงมา 2 ช่องแล้ว ขายเลยดีไหม (อย่าใจร้อน รอดูอีกนิด)
-- ก่อนจะขายหุ้น (กรณีนี้ขาย 1,000 หุ้น (10%)) >> พิจารณา Vol. Bid ว่ามีมากแค่ไหน >>
ดูด้วยว่ามีคนขายที่ 9.90 หรือยัง
-- อย่าขายเป็นคนแรกเพราะจะถูก กลต. เพ่งเล็งว่า (มีเจตนาทุบราคา)

- ถ้าสักพักราคาเป็นแบบนี้
-- จับตาดู ถ้าเห็นว่ามีการขายครั้งละ หมื่นๆหุ้น ให้รีบขาย
-- ตรงนี้มือใหม่ทำได้ยาก (อย่าลังเลที่จะขาย) >> ถ้าขายที่ราคา 9.90 ไม่ทัน เท่ากับเราขาดทุนไป
0.05 บาทต่อหุ้น จากความลังเล
Ex ซื้อมะนาวลูกละ 5 บาท (ควรขายที่ราคา 4 บาท/ลูก ไม่ใช้ราคา 3 บาท/ลูก)
-- สามารถลดลดความลังเล และความกลัวได้ >> เมื่อเราเห้นราคา Bid ต่ำกว่า ก็สามารถขายได้เลย
-- หลังจบการขาย ให้กำหนดจุดซื้อคืนไว้ที่ 3 ช่องจากราคาขาย (9.75 บาท) ราคานี้ให้ซื้อทันที

- ถ้าสักพักราคาเป็นแบบนี้

วิธี DSM คือรอ ไม่ต้องทำอะไร (ราคายังไม่ลงจากจุดเดิมที่ขายไป)
- แต่ถ้าเห็นว่ายังคงมีแรงขายต่อเนื่อง ให้ขายที่ 9.85(5%) และขายที่ 9.80(5%) รวมเป็น 10%

- คำถาม ใช้กองหลัง 20% ในเวลาปกติ
-- ขายทุก 2 ช่อง และรับซื่อคืนทุก 3 ช่องราคา
-- ถ้าเป็นขาลงในขาลงจริงต้องขายให้เร็ว
-- ขายให้มากที่สุด (อาจมากถึง 10% ,20% ,25% ,50% ,100%) ในไม้เดียวก็ได้
* ห้ามเดาตลาดเด็จขาด

- จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่า (ขายทุก 2 ช่อง >> รับซื้อคืน 3 ช่อง) >>
สามารถขยายช่องเหล่านี้ได้ เ
EX ขายทุก 2 ช่อง >> รับซื้อคืน 3 ช่อง เปลี่ยนเป็น ขาย 3 ช่อง ซื้อคืน 5 ช่อง
- ถ้าขายไม่ทันตามช่องที่กำหนด >> ให้ขายในราคาที่เห็น (อาจลงมา 4 - 5 ช่องก็ตาม)
- ถ้าผิดแผนที่ไม่สามารถรับหุ้นกลับมาได้ตามแผน (3 ช่อง) >> สามารถเปลี่ยนเป็นการกำหนด
ว่าจะรับกลับกี่ % >> ตั้งกฎว่าจะรับกลับ 3% ,5% ,7% ก็เป็นได้
- มีคำกล่าวไว้ว่า "หุ้นขึ้นกล้าซื้อ หุ้นลงกล้าขาย"

DSM [9] - DSM วัวเนื้อ หรือวัวนม
เปรียบเทียบแนวคิด DSM ระหว่าง การขุนวัวเนื้อ และการรีดนมวัว

- DSM ไม่ได้ทำให้รวยทันที >> กระบวนการทำให้มีอิสรภาพการเงินในเวลาที่กำหนด
- ระะหว่างทางเดิน มึสุขภาพจิต และสุขภาพที่ดี
- เปรียบเสมือน มีความสุขทางกาย และใจ

- การซื้อขายหุ้นแบบเกร็งกำไร เปรียบเหมือน ขุนวัวเนื้อให้อ้วนแล้วไปชำแหละ
- การเก็บหุ้นปันผล เปรียบเหมือน การเลี้ยงวัวนมเพื่อรีดนมวัว
- การขายวัวเนื้อ >> ได้เงินมากมาย (ครั้งเดียว)
-- ถ้าขุนวัวเนื้อ >> โชคร้ายวัวติดโรค >> วัวไม่กินอาหาร(ผอม ขายไม่ได้) >> ผู้เลี้ยงลำบากใจ >>
หมายถึงขาดทุน >> ถ้าวัวมีปัญหา โรคเริ่มติดคนเลี้ยง >> คนเลี้ยงจะทยอยขายวัวออกไป จนหมด >>
รอวันที่หายจากโรคติดต่อหาย >> กลับมาเลี้ยงวัวเนื้อเหมือนเดิม

- การรีดนมวัว >> ได้เงินน้อย (แต่สม่ำเสมอ) + ได้ลูกวัวเป็นของแถม >> ถ้าลูกวัวตัวสามารถรีดนมได้เพิ่ม
>> ถ้าเป็นวัวตัวผู้พันธุ์ สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ หรือขายก็ได้
-- การรีดนมวัวทุกวัน เปรียมเหมือน กระแสเงินสด
-- การเลี้ยงวัวนมและได้ลูกวัว เปรียบเหมือน การได้หุ้นฟรีจากกระแสเงินสดแฝงที่สะสม
-- การลงทุนกับหุ้น DSM และยังคงแนวคิดเป้าหมายในการเป็นเจ้าของวัวนม >>
แม้ระหว่างทางจะขายวัวตัวผู้บ้าง >> เงินที่ได้ก็นำกลับมาซื้อแม่วัวนม

- ข้อดีของระบบ DSM คือ
-- มีกระบวนการป้องกันไม่ให้ใครมา ยุ่งเกี่ยวกับหุ้นของเรา
-- ช่วยให้สนชื่นเบิกบานกับหุ้นได้ทุกวัน (ความสุขที่แท้จริง)
-- อย่าลืมเมื่อมีอิสรภาพทางการเงินแล้ว มีเป้าหมายอะไรต่อไป
-- เป้าหมายที่แน่ชัด ช่วยให้เรามีวินัย และเดินต่อไปถึงจุดหมาย
-- "ซื่อสัตย์ต่อตนเองในอนาคน" ไม่ควรซื่อสัตว์ต่อตนในอดีต

DSM [10] - Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่ ?
- "My favoriyte time frame for holding a stock is forever" >> "เวลาที่ผมชอบที่สุดคือ
เวลาที่ผมถือหุ้นไว้ตลอดเวลา" >> ประโบคนี้คือ หัวใจที่ทำให้ Warren Bufett ทำการไรจากตลาดได้มาก
- Warren Bufett ลงทุนในแนวคนรีดนมวัว (เลือกหุ้นที่มีอนาค)
- เป็นแนวคิด เช่นเดียวกับ DSM (ถึงแม้วิธีการแตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายเดียวกัน)
- ส่วนวิธีการของใครจะประสบความสำเร็จมากกว่ากัน ต้องใช้เวลาพิสูจน์
- ดั่งคำกล่าว "การเวลาพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน"
- วีธีการลงทุนแบบ DSM ทำให้มีคำกล่าวโดยเฉพาะว่า
"My favoriyte time frame for trading on DSM is forever"

การจะใช้วิธีลงทุนแบบ DSM ให้สำเร็จ
- ต้องลืมเรื่องเวลา ,ลืมเรื่องกำไรขาดทุน
-- นักลงทุนที่ติดดอยอยู่ >> ลองถามตัวเอง >> กังวลใจเพราะอะไร >> เพราะราคาหรือเวลา
- ถ้าตั้งใจลงทุนแบบ DSM ห้ามเลิกกลางคันเป็นอันขาด >> เพราะต้องลงทุนตลอดชีวิต >>
ต้องเลือกหุ้นที่อยู่กับเราไปจนวันตาย >> เหมือน Warren Bufett เลือกหุ้นที่อยู่กับตนเองตลอดชีวิต

DSM : Densri Method : EP2

DSM [6] - การเลือกหุ้นเพื่อลงทุน DSM
คุณสมบัติของหุ้นที่จะเลือกลงทุนด้วยวิธี DSM
1.) ต้องเป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล (ดูจากประวัติย้อนหลัง)

2.) เป็นหุ้นที่มีความนิยม และมีจำนวนหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มากพอสมควร
>> จะสร้างหุ้นจากส่วนต่างราคา
-- หุ้นที่มีความนิยมจะมีการซื้อขายมาก

3.) เป็นหุ้นหลักของเศรษฐกิจประเทศ (ถ้าหุ้นตัวนี้หายจากตลาด หุ้นตัวอื่นจะหายก่อน)

4.) เป็นบริษัทที่เราอยากร่วมเป็นกิจการ

การหาหุ้นที่มีคุณสมบัติครบที่ 4 เป็นเรื่องที่ยาก >> ยอมตัดบางคุณสมบัติออกไปบ้าง
- คนมาเวลาซื้อขายหุ้น >> หุ้นที่แกว่งมาก >> จ่ายปันผลน้อย >>
สร้างจำนวนหุ้นให้เพิ่มอัตราที่มากพอ >> ได้หุ้นมากพอ >> เปลี่ยนไปยังหุ้นที่จ่ายปันผลที่ดี
- หุ้น Warrant ต้องมีแผนตั้งแต่แรกเริ่มในการลงทุน >> ต้องดึงกระแสเงินสดแฝงออกจาก Warrant >>
ให้เร็ว และเน้นสร้างกระแสเงินสดแฝง โดยไม่ต้องเพิ่มหุ้น
-- ลงทุน Warrant ต้องการเพิ่มหุ้น และเก็บกระแสเงินสดแฝงตามสัดส่วน >> แปลงร่างจากหุ้น
Warrant เป็นหุ้นแม่
Ex CPF-W2 >> CPF หรือ ZMICO-W3 >>ZMICO
-- มีข้อแม้อย่างหนึ่งว่า >> Warrant นั้นต้องมีอายุอย่างน้อย 2 ปี ถ้าได้มากกว่า 2 ปียิ่งดี
-- การลงทุนใน Warrant ต้องมีเวลาเอใจใส่พอร์ต
- คนที่ไม่มีเวลาซื้อขายหุ้น >> ถ้าเลือกหุ้นที่แกว่งมาก >> ควรเลือกหุ้นพื้นฐาน >> จ่าปันผลสม่ำเสมอ
>> ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมาก >> มีเวลาดูวันละ ครึ่งชั่วโมงพอ

5.) ถ้าใครมีประสบการณ์กับ Finance ในตอนที่ปิดบริษัท 56 แห่ง >> ควรหลีเลี่ยงหุ้นกลุ่ม Finance >>
สามารถลงทุนได้ แต่ต้องมีกฎออกเตรียมพร้อมเสมอ

6.) เมื่อใดควรไล่หุ้นตัวนั้นออกจากพอ์ต
- หุ้นที่ไม่มีการเคลื่อนไหน
- หุ้นที่ราคาลงมากมากว่า 50% จากราคาที่ซื้อสูงสุด >> จดราคาว่าดู เมื่อหุ้นแสดงขาขึ้นชัดเจน >>
กลับมาลงทุนใหม่ >>  ยกเว้นหุ้นตัวนั้นคืนทุนแล้ว >> เก็บกระแสเงินสดไปเรื่อยๆ

7.) หุ้นเป็นเพียงยานพาหนะ สำหรับนักลงทุน (Investment Vehicles) >> นำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
>> ไม่ควรยึดติดหุ้นตัวใด >> เปลี่ยนแปลงหุ้นได้ตามแผนการลงทุน
-  การยึดติดตัวหุ้นคือความทุกข์อย่างหนึ่ง "จงปล่อยว่างไม่อย่างนั้นท่านจะสูญเสียทุกอย่าง" >>
ใช้แนวทางการลงทุนแบบ DSM แทนการยึดติดที่ตัวหุ้นแทน

เริ่มต้นด้วยจำนวนหุ้นเท่าใด
- จำนวนที่เหมาะสมสำหรับ DSM คือ 10,000 หุ้น
Ex ถ้าเลือกหุ้นมูลค่า 100 บาท ต้องมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท
- การเลือกหุ้นในาราคาที่เหมาะสม >> การซื้อขายหุ้นมีประสิทธิภาพ
- ถ้ารักการลงทุนในหุ้นราคา 100 บาทจริงๆ มี 2 วิธี
-- หาเงินล้านจากการทำงานมาลงทุน
-- เริ่มจากหุ้นตัวละ 10 บาท ใช้เงินลงทุน 1 แสน (ถ้าลงทุนอย่างมัวินัย จะใช้เวลาไม่เกิน 7 ปี)


#เพิ่มเติม หุ้น Warrant
โดยอ้างอิงจาก : https://pantip.com/topic/32407356
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/06/I9377387/I9377387.html

- Warrant ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ (ส่วนมากเรียกหุ้นลูก)
- เมื่อถึงวันใช้สิทธิ จะกลายเป็นกระดาษไม่มีค่า
- กระดาษใบหนึ่ง ที่สามารถเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญ โดยจ่ายตังให้บริษัท
- เหตุผลที่บริษัทออกเพราะ บริษัทต้องการเงินทุน
-ส่วนมากบริษัทจะแจกฟรี ให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในเวลาที่กำหนด (XW)
- หุ้น Warrant จะมี "-W" ต่อท้ายหุ้นสามัญ
-Warrant(หุ้นลูก) >> ซื้อหุ้นสามัญ (หุ้นแม่)
Ex หุ้น TWZ >>  หุ้นสามัญ (หุ้นแม่)
-- หุ้น TWZ - W2 >> ใบสำคัญแสดงสิทธิ (หุ้นลูก) หรือWarrant
--- หุ้นลูก สามารถซื้อขายได้ตามปกติ เหมือนหุ้นแม่ทุกอย่าง
--- เมื่อซื้อหุ้นลูก สามารถขายปกติ หรือแปลงเป็นหุ้นสามัญได้
--- Ex เมื่อถึงวันใช้สิทธิ TWZ - W2 ซื้อหุ้นแม่ในราคา 1 : 1.027 ในราคาใช้สิทธิ 0.39 บาท/หุ้น >>
1 หุ้น Warrant จะได้สิทธิซื้อ 1.027 หุ้นแม่
- ถ้าได้รับสิทธิ แจกWarrant จากหุ้นแม่ >> ใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นลูก
-- คิดราคาหุ้นที่จะแปลงเป็นหุ้นลูก = (ราคาหุ้นแม่ - ราคาใช้สิทธิ)/(จำนวน Warrant ที่ต้องใช้และหุ้นแม่)
-- (0.53(ราคาปัจจุบัน) - 0.39) / (1 / 1.027)
-- ราคาหุ้นลูก 0.14378
--- ถ้าแปลงแล้วราคาหุ้นลูกสูงกว่าในกระดาน ถือว่าขาดทุน
- ก่อนซื้อหุ้น Warrant  >> ให้ดูวันใช้สิทธิ >> ราคาที่ซื้ออาจเป็นราคามากกว่าหุ้นแม่ก็ได้
- หุ้น Warrant + ราคาใช้สิทธิ์ หากมากว่าหรือเท่ากับ หุ้นแม่ ควรเลี้่ง
- ยิ่งใกล้วันหมดอายุ คนจะยิ่งขาย (หมดอายุจะไม่มีค่าทันที)

- ช่วยที่ราคาลงของ Warrant คือช่วงที่ใกล้ใช้สิทธิ 1 เดือน (หุ้นแม่วิ่ง หุ้นลูกนิ่ง) >>
ไม่มีใครอยากใช้สิทธิ
- ควรเลี่ยงก่อนวันหมดอายุ 1 ปียิ่งดี

- หลักการดูว่า Warrant ราคาถูกหรือแพง (เปรียบเทียบหุ้นแม่)
-- ราคา Warrant + ราคาใช้สิทธิ < ราคาหุ้นสามัญ - น่าลงทุน (ได้หุ้นสามัญในราคาต่ำ)
-- ราคา Warrant + ราคาใช้สิทธิ = ราคาหุ้นสามัญ - ไม่น่าลงทุน (ทุนเท่าหุ้นสามัญ)
-- ราคา Warrant + ราคาใช้สิทธิ > ราคาหุ้นสามัญ - ไม่น่าลงทุน (ราคาที่ได้แพงกว่าหุ้นสามัญ)

- ช่วงใกล้ใช้สิทธิ ราคาจะลงมา แต่จะมีคนพยุงราคาไว้ >> หากราคาต่ำ >> คนใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นแม่ >>
จะได้ราคาหุ้นแม่ราคาต่ำกว่ากระดาน (คุ้ม)

- สิ่งทั้ต้องทำก่อนซื้อ
-- เช็ควันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย หรือวันหมดอายุ
-- วันใช้ สิทธิซื้อหุ้นแม่

- คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นหุ้น ธรรมดา ถือยาวแค่ไหนก็ได้ (ซึ่งไม่ใช่) >> ถ้าไม่แปลงสภาพก็หมดทันที

DSM : Densri Method : EP1

DSM : Densri Method : EP1

สรุปจากกระทู้
หัวข้อ : DSM Concept Version 3 จากสมาชิก Pantip ชื่อ จูล่ง
- http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3990755/I3990755.html

คำนำ
- นักลงทุนในตลาดมี 2 ประเภท เก็งกำไร(เทรด) และนักลงทุน(ลงทุน)
- ในตลาดมีนักเก็งกำไร > นักลงทุน
- นักลงทุนที่แท้จริงจะรู้จัก "กระแสเงินสดแฝง" [สะสมหุ้นเป็นสินทรัพย์]
- คนที่เปิดเผยวิธีการและ เคล็ดลับวิชามีนามว่า "เด่นศรี"

DSM [1] - จุดกำเนิด DSM
- DSM ย่อมาจาก DenSri Method >> Descending Sell Method
- มาจากนักลงทุนชื่อเด่นศรี >>ลงทุนด้วยวิธี Short Against Port
- เป็นแนวทางการลงทุนสร้างหุ้น และกระแสเงินสด

DSM [2] - หัวใจ และแนวคิดของ DSM
- หัวใจการลงทุนหุ้น DSM >> แผนการลงทุน และระบบบัญชี
- เป้าหมายสูงสุดของ DSM >> สะสมจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น และสร้างกระแสเงินสดแฝง
- ถ้าลงทุนตามแผนอย่างเคร่งครัด ค้นพบว่าวิธีDSM ลงทุนตอนขาขึ้นได้ดีกว่าขาลง

แนวคิดของ DSM
- สะสมจำนวนหุ้นเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเงินเพิ่ม
Ex มีบ้านปล่อยเช่า >> สะสมเงินค่าเช้าซื้อบ้านเพิ่มอีกหลัง >> สุดท้ายซื้อโรงแรม

- ไม่ลงเงินเพิ่มเพราะ ต้องการให้เงินสร้างตัวมันเอง

- แนวคิด DSM คาดการณ์นักลงทุนต่างชาติ
- วันไหนหุ้นตก(ขาย) และซื้อคืนในราคาที่ถูกกว่า
- นักลงทุนต่างชาติมีหุ้นในมือมหาศาล >> ไม่ชอบให้หุ้นขึ้น >> ชอบให้ขึ้นๆลงๆ และลงหนักๆ
- ทำให้นักลงทุนคิดว่าหุ้นขาลงต้องมีอะไรดีกว่าขาขึ้น >> และถ้าหุ้นขาขึ้นต้องกำไรหนักๆ
- ด้วยวิธีการนี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีหุ้นในมือมหาศาล
* เรานักลงทุนวิธีDSM ต้องทำตามแนวทางนักลงทุนต่างชาติ (ต้องมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

DSM [3] - คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
1.) ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว (ตลอดชีวิต)
-- เงินลงทุนต้องเป็นเงินเก็บที่จ่ายให้ตัวเอง 10%
-- ห้ามถอนเงินมาใช้เป็นอันขาด เพราะเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต (รักษาเงินต้น)
-- ถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินแฝงเท่านั้น
-- สามารถใช้ทรัพย์สินมรดก แก่ลูกหลานได้ (ดีชั่วลูกชั่วหลาน)
2.) มีแนวคิดสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช้กำไรจากพอร์ต >> ไม่สนใจมูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
แยกสองสิ่งให้ออกจากกัน
-- ความแตกต่างระหว่างกำไรส่วนต่าง
-- การลงทุนเพื่อสร้างรายได้
-- ถ้าแยกได้ จะลงทุนตามแนวทางนี้สำเร็จ
3.) อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึง รวยร้อยล้านพันล้าน
-- การมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
-- อิสระในสิ่งที่อยากทำ
*อิสระภาพทางการเงิน "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนต้องการมากกว่า"
4.) มีวินัยในการลงทุน
-- การลงทุน DSM ห้ามเลิกกลางคัน >> จะเกิดความเสียหมายมาก (เลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี)
5.) มีเป้าหมายในอนาคต
-- ต้องได้รับเงินปันผลเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้ในชีวิตประจำวัน
6.) จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับ เสียงชาวบ้าน(เสียงนกเสียงกา)
7.) ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจไส่
8.) ต้องเป็นความสมัครใจของนักลงทุนเอง
-- ไม่มีใครสามารถบังคับได้
-- เมื่อพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจ >> สร้าง Model Trade ของตนเอง
-- สร้างหลักการตัวชี้วัดความสำเร็จของตนเอง (โดยนำตัวอย่างจากบทความเป็นต้นแบบ)
9.) การลงทุนแบบ DSM เสี่ยงหรือไม่
-- ความเสี่ยงไมไ่ด้ขึ้นกับการลงทุน >> ขึ้นอยู่กับความเข้าใจแนวคิดการลงทุนวิธีนี้
-- ถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมาก
-- ไม่มีอะไรในชีวิตไม่มีความเสี่ยง
-- แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอ การลงทุนวิธี DSM จึงเป็นคำตอบ

สิ่งที่จะได้รับจากวิธีการลงทุน DSM และไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
- เป็นส่วนหนึ่งกับเจ้าของบริษัท
- สร้างรายได้จากหุ้น และกระแสเงินสดแฝง
- ะมีเงินปันผลหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี (ตามจำนวนหุ้น)
- ะเหลือเวลาว่างอยู่กับครอบครัว
- สุขภาพจิตที่ดีขึ้น (หุ้นขึ้นก็ดีใจ หุ้นลงก็ยิ้ม)

ทำไมต้องมีอิสรภาพทางการเงิน
- ชีวิตไม่ได้มีเวลามากมาย
- ทำไมต้องใช้เวลาทั้งชีวิตทำงาน
- เรียนรู้วิธีการใช้เงิน >> ให้คนอื่นทำงานให้เรา
- จะได้มีเวลาทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า

สิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคือ
- มีเวลาสำหรับครอบครัว
- มีเงินสำหรับอุทิศเพื่อการกุศล
- มีโอกาศสร้างงาน และความมั่งคงให้ชุมชน
- มีโอกาศท่องเที่ยวกับครอบครัว

ผู้ที่ห้ามลงทุนแบบ DSM
- นักเก็งกำไร หรือนักพนัน
- นักลงทุนระยะสั้น
- ผู้ปล่อยปะละเลย (ไม่ดูแลพอร์ต)
- นักลงทุนที่ไม่เข้าใจแนวคิด DSM

ไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ลงทุนแบบ DSM ได้หรือไม่
1.) เงินใช้ในการลงทุนแบบ DSM อาจเริ่มต้นด้วยเงินประมาณ 10,000 บาท
2.) ไม่มีเวลาดูหุ้นทั้งวัน >> ดูวันละครั้งเป็นอย่างน้อย
3.) การลงทุนในหุ้น เหมือนคุณร่วมลงทุนกับกิจการบริษัท >> ควรมีเวลาเพื่อดูกิจการบริษัทบ้าง
4.) ออกจากงานประจำเลยดีไหม
-- ไม่แนะนำเพราะจะขาดกระแสเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-- ควรทำงานประจำ และแบ่งเวลาบางส่วนก็เพียงพอ
5.) มีเงินไม่มากพอ ลงทุนหุ้นกู้ Margin ดีหรือเปล่า
-- ไม่ควรกู้ Margin >> ระวังเงือนไข Maintenance Margin >> ถูกบังคับ Call Margin
>> เพิ่มวงเงินประกัน >> บังคับ Forcesale >> หุ้นตกขาลง ไม่มีเงินซื้อหุ้ต่ำกว่าราคาที่ขาย
-- หุ้นตกมูลค่าลดลง >> วงเงิน Margin ลดลง >> ซื้อรวบยอดไม่ได้
6.) เมื่อมั่นใจว่าจะลงทุนวิธี DSM สิ่งที่ต้องทำ >> เลือกหุ้นที่จะลงทุน และอยู่กับหุ้นตัวนั้นอย่างน้อย 2 ปี

DSM [4] - ทำไมต้องอย่างน้อย 2 ปี
- ผลตอบแทนจากการลงทุน DSM จะได้กระแสเงินสดขั้นต่ำ 3 % (บางเดือนได้มาก บางเดือนได้น้อย)
- จากสูตร 72 จำกัด
--เอาเลข 72 ตั้งหารด้วยจำนวน %ต่อปีผลลัพธ์ >> เท่ากับจำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็น 2 เท่า
- ผลลัพธ์ปีที่ทำให้จำนวนเงินต้นเป็น 2 เท่า = 72 / ( 3% x 12) = 2 ปี
- แสดงให้เห็นว่า กระแสเงินสดแฝง จะเท่ากับจำนวนเงินต้นเมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี
- ตลาดหุ้นเมืองไทย สามารถทำให้เงินคืนได้เร็ว เพราะเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง
- การลงทุนไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลงมือทำ (ค่อยๆก้าวแบบทารก)
* อดทนเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเป้าหมาย

เพิ่มเติม เรื่องกฎ กฎของเลข 72
โดยอ้างอิงจาก : https://moneyhub.in.th/article/rule-of-72/

- Albert Einstein เป็นผู้ค้นพบกฎของเลข 72
- เลข 72 อ้างจากหลักการคิดดอกเบี้ยทบต้น
- เป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลก "พลังดอกเบี้ยทบต้น"
- ถ้าต้องการให้เงินต้นเป็น 2 เท่าในระยะเวลากี่ปี ?
- สูตรการคำนวณคือ
เงินออม หรือลงทุนจะกลายเป็น 2 เท่าในกี่ปี  = 72 / อัตราผลตอบแทนต่อปี  หรือ
เงินออม หรือลงทุนจะกลายเป็น 2 เท่าด้วยอัตรดอกเบี้ยเท่าไหร่ = 72 / ระยะเวลาออม หรือลงทุน(ปี)
- มีเงือนไข เงินออม หรือลงทุนมีผลตอบแทนคงที่
- สูตรนี้สามารถใช้คำนวณ เงินออม ,ระยะเวลาในการออม หรือลงทุน ,อัตราเงินเฟ้อ ,การก่อหนี้

DSM [5] - ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
- ผู้เกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
-- นักลงทุน ,นักเก็งกำไร

ถามตัวเองว่าเป็นนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร
- ตลาดทุกชนิดมีคน 2 ประเภท
-- ถ้ามีแต่นักลงทุน ราคาหุ้นจะอยู่นิ่งๆ
-- ถ้าเป็นนักเก็งกำไร แต่ลงทุนด้วย DSM เน้นให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง

ความแตกต่างระหว่างนักลงทุน กับนักเก็งกำไร
-นักเก็งกำไร : ต้องการกระแสเงินสดในระยะเวลาที่กำหนด
-นักลงทุน : ต้องการรายได้จากกระแสเงินสดแฝงจากหุ้น และเงินปันผล
# หรือดูง่ายสุด
- ถ้าซื้อหุ้น และขายหุ้นเพื่อหวังกำไรส่วนต่าง >> นักเก็งกำไร
- ถ้าซื้อหุ้นเพื่อหวังเงินปันผล พร้อมกระแสเงินสดแฝง >> นักลงทุน

นักลงทุน หรือนักเก็งกำไร ใครเหมาะที่จะใช้วิธี DSM
- การหวั่นไหวกับราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช้เรื่องผิดปกติ
- Value Investor (VI) เมื่อลงทุนในหุ้นแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะมั่นใจในบริษัท
- VI ถึงแม้ราคาหุ้นจะตกไปมากเท่าไหร่ ถ้าบริษัทกำไร ก็ยังคงลงทุนต่อ >>  อาจซื้อเพิ่มด้วยวิธี DSM
- วิธีการลงทุนแบบ DSM เหมาะกับนักลงทุนแบบ Value Investor (VI)
- ใช้จำนวนเงินลงทุนก้อนเดิมมาเพิ่มจำนวนหุ้น VI
- DSM เป็นส่วนผสมระหว่าง VI ในสายเลือด >> เพิ่มทักษะการซื้อขายหุ้นแบบนักเก็งกำไร
>> เพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้น
- ห้ามใช้วิธีการลงทุนแบบ DSM ในการตามเงินลงทุนที่ขาดทุนไปคืน
>> ถ้าเลิกกลางคัน อาจสูญเสียมากกว่ากำไร
- DSM ใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ถึงคุ้มต้นทุนตอนเริ่มต้น

KZM : Killer Zone Model : EP2 [Pantip]

KZM : Killer Zone Model : EP2 [Pantip]

เก็บความรู้ที่ได้จาก MudleyGroup ใน Pantip โดยเนื้อหานำมาจาก
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2008/11/I7181375/I7181375.html
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2008/08/I6908867/I6908867.html
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2009/05/I7865165/I7865165.html

- นักลงทุนหลายคนพูดว่า ตลาดหุ้นไม่มีสูตรสำเร็จ >> วิธีการที่ดีที่สุดคือทดลองกับตลาดจริง
- ทดลองในช่วงตลาดเลวร้าน กับเพื่อนคนหนึ่ง (ไม่มีประสบการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นมาก่อน)
- เพื่อนมีเงินเก็บ ทำอะไร ? (พี่ต้านแนะนำลงทุนในหุ้น)

มุมมองพี่ต้านบอกว่า
1. คนที่ขาดทุน หรือเหยื่อในตลาด คือ รู้มากเกินไป กับไม่รู้อะไรเลย
2. ไม่มีวินัย กับระบบ หรือ ผ่านการทดสอบมาไม่ดีพอ
3. โลภ มองผลตอบแทนเป็นหลัก
4. กลัวสิ่งต่างๆเกินจริง
Ex Index ไม่มีทางเหลือ 0 >>  Model ที่ออกแบบให้เทรดแกล้ 0

- วินัยเป็นสิ่งสำคัญ
- เพื่อนลองเทรดตามระบบ เป็นเวลา 2 เดือน >> ผลลัพธ์น่าประทับใจ >> ซื้อขายราวเทรดเด้ออาชีพ
- เพื่อนเข้าตลาด ณ วันที่ Tdex ราคา 4.74 >> ตอนนี้ลงเหลือ 3.34
- มูลค่าพอร์ทเพื่อน เริ่มต้นที่ 5 หมื่น >> ขาดทุน 2 % ,มีหุ้นในมือ 5200 หุ้น
- Model มีการเพิ่มหุ้นแบบ DSM หลังมีกระแสเงินสดแฝง
- ตลาดลงรุนแรงหรือขึ้นไม่มีใครทราบ แต่สามารถอยู่รอดในตลาด
- มีเงินใช้สม่ำเสมอ

Principles by Ray dalio : EP4

ตกตะกอนความรู้ที่ได้จากการอ่าน Principles by Ray dalio [4]

3. ข้อสาม
- คนส่วนมาก มักกังวลว่าคนอื่นจะมองตัวเองอย่างไร >> ทำให้ตัวเองดูดี >> ปิดบังจุดอ่อน
ทำให้พวกเขาไม่เคยรู้วิธีเผชิญหน้ากับ จุดอ่อนของตนเอง ที่เป็นอุปสรรคของตนเองในอนาคต
- คนเหล่านี้จะหาข้ออ้างเพื่อให้ตนเองดูดี มีคำตอบในทุกๆเรื่อง เพื่อปิดจุดอ่อน
มุมมองแบบนนี้จะขัดแย้งกับความเป็นจริง >> เป็นปัญหาในการพัฒนา

- คนที่ยอดเยี่ยม คือคนที่ผ่านการเรียนรู้มาก่อน และพวกเขาก็มีจุดอ่อนเหมือนๆคนอื่น
- เขาเรียนรู้ที่จะเผชิญ กับมันและสามารถไปถึงจุดหมายได้
- ความรู้ที่ผ่านมาของเขาช่วยในการตัดสินใจอะไรดีมากขึ้น (ประสบการณ์เยอะ)

- คนที่ตัดสินใจบนความเป็นไปได้มากที่สุด >> จะมั่นใจในคำตอบที่เป็นไปได้มากที่สุด >>
ผ่านประสบการณ์มามากมาย >> เรียนรู้ในการตอบคำถามนักต่อนัก >> ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ต่อไป
- บางครั้งคนกลุ่มนี้ สำรวจความคิดเห็นที่ตรงกันข้ามกับตนเอง >>
และสำรวจว่าความคิดเห็นของตนผิดพลาดตรงไหน >> จุดอ่อนถูกแก้ไขไปเรื่อยๆ >>
จึงไม่เกิดปัญหาในอนาคตอีก

- อะไรคือจุดอ่อนที้ใหญ่ที่สุดของเรา ? คิด >> เจอ >> เข้าใกล้ความสำเร็จ
- คิดเกี่ยวกับมันเขียนมันลงบนกระดาษ
Ex จุดอ่อน คือความจำที่แย่เกี่ยวกัย เบอร์โทร ที่อยู่ (เราจึงควรแก้ไขด้วยกันจด)

กี่ครั้งแล้วที่เรากังวลกับ ตนเองว่าดูดีไหม ?
แล้วมันดีกว่าการที่เราจะดี (จากความเป็นจริง) ไหม ?

4. ข้อสี่
- คนส่วนมาก มักให้น้ำหนักของผลลัพธ์แรก ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
และไม่สนใจในผลลัพธ์ถัดไป ซึ่งทำให้การไปถึงเป้าหมายนั้นยาก
- ผลลัพธ์ แรกมันตรงกันข้ามกับผลลัพธ์ถัดไป (ทำให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจ)
Ex ออกกำลังการ ผลลัพธ์แรกคือความเจ็บปวด ผลลัพธ์ที่สองคือ ร่างกายแข็งแรง
กินขนมหวาน ผลลัพธ์แรกคือความอร่อย ผลลัพธ์ที่สองคือ อ้วน
- ถ้าเป้าหมายของเราคือ สุขภาพที่ดี และเราไม่สามารถผ่าน อุปสรรคแรกไปได้
เราก็ไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้

- บางครั้ง ผลลัพธ์แรกมันจะล่อตาล่อใจ ทำให้ออกจากเป้าหมายที่วางไว้
- บางครั้ง ขัดขวางไม่ให้ถึงเป้าหมาย
ทั้งหมดคือหนึ่งในกระบวนการคัดสรรตามกฏของธรรมชาติ

บ่อยแค่ไหนที่เราตอบสนองต่อผลลัพธ์แรก โดยยอมทิ้งผลลัพธ์ที่ สองและสาม?

5. ข้อห้า
- คนที่โทษคนอื่นมากกว่า ตัวเอง >> ผลลัพธ์ที่ได้คือ คนโง่เขลา
- มันคือความไม่แน่นอนของความจริง และทำงานการพัฒนาตนเองด้วย
- การโทษคนอื่น ว่าไม่ดีนั้น น่าเวทนา เพราะคาดหวังเกินความเป็นจริง >> บ่อนทำลายตัวเอง
- คนที่ประสบความสำเร็จ >> เข้าใจสิ่งที่แย่ที่เกิดจากตัวเอง >> รับผิดชอบต่อมัน

กี่ครั้งแล้วที่เรารับผิดชอบต่อสิ่งที่เราทำเพื่อความสำเร็จ

- เราสามารถได้ในสิ่งที่เราต้องการได้ >> ระงับอีโก้ >> เลิกมีข้ออ้าง >> เปิดใจให้กว้าง >>
วางแผน >> ลงมือทำ
- โดยเฉพาะ ถ้าเราวางใจที่จะช่วยเหลือคนอื่นให้แข็งแรง ในด้านที่เราอ่อนแอ

- ถ้าต้องเลือกสร้างตัวเลือกที่ดีที่สุด ให้เลือก "การสวมบทบาท"
- การสวมบทบาทคือ ความสามารถหนึ่งที่สามารถทำสิ่งที่ยากได้ดีขึ้น >> เข้าไกล้ขีดจำกัดบ่อย
ก็ยิ่งพัฒนามากขึ้น ถ้าไม่ยอมไปซะก่อน >> อดทนกับความทรมานได้เท่าไหร่ยิ่งพัฒนาได้รวดเร็ว
- อะไรก็ตามที่ได้รับมาหลังบททดสอบ คือทำให้รู้ว่าเราถูกสร้างมาเพื่ออะไร
Ex เกมส์ สร้างตัวละครเก็บเลเวล อัพสกิลที่ต้องการ
สุดท้ายเราจะเป็นคาแรคเตอร์ที่เราต้องการ เช่น นักเวทย์ นักธนู

การเอาชนะขีดจำกัด ไม่ใช้เรื่องที่ยากเกินกว่าเราจะทำได้ ถ้าเราได้ทำสิ่งเหล่านี้

KZM : Killer Zone Model : EP1 [นายม่อนพ่อค้าค่าเงิน]

สรุปความรู้จาก Link  :
- https://www.youtube.com/watch?v=QvnAE5_W31Q
- https://www.youtube.com/watch?v=1sJ3Aq33SK4
KZM Close System Forex Trading Part 01
KZM Close System Forex Trading Part 02
ของนายม่อนพ่อค้าค่าเงิน 

- ผู้คิดค้นคือ พี่ต้าน ปณต จิตต์การุญ
- Concept KZM
-- ไม่มี Stop Loss >> ป้องกันการล้างพอร์ท
-- ไม่คาดการณ์ทิศทางราคา 
-- มีการจัดการระยะห่าง 
-- มี CashFlow สม่ำเสมอ >> มีเงินเพิ่มเข้ามาในระบบเสมอ
-- พอร์ทยั่งยืน >> ไม่สนใจว่ากำไรมากน้อย สนใจความสม่ำเสมอ

- วางเงินไว้ให้มีปริมาณมากพอ >> ถ้าราคาลงมาถึง 0 คือยอมแพ้
- Buy Order อย่างเดียว (สถาณการณ์ที่แย่ที่สุดคือ ราคาลงถึง0)

- เงินต่อเงิน (ใช้กำไรที่ได้ มาต่อยอด)

KZM แบ่งเป็น 4 กล่อง แต่ละกองมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน
- กอง A คุมZone ที่กว้าง (Pd Order เป็นช่วงๆ)
Ex วาง Zone ละ 1000 จุด
- กอง B คุม Zone เล็ก >> ปิดทำกำไรให้เร็วมากกว่ากอง A
Ex วาง Zone ละ 30 จุด
- กอง C >> ใช้ Technical ในการเข้าเข้าOrder และปิด Order (ไม่มี SL)
Ex เปิด Order เมื่อราคาตัด Ema5 ขายOrder เมื่อราคาตัดลง
- กอง D >> ใช้การเทรดแบบ Scalping (เปิดปิดเร็ว)

ทำไมถึงควรศึกษา KZM
- ปกติเวลาเทรด คนทั่วไปมักคิดว่าถึงเงินที่เข้า Order เป็น %
Ex คนที่เงิน 100$ เข้า Order ครั้งละ 1 % = 1$
แต่ถ้าคนที่มีเงิน 10000$ เข้า Order ครั้งละ 1 % = 100$
ถ้าขาดทุนติดต่อกันจะทำให้ประสิทธิภาพของการเทรดลดลง (หัวร้อน)
- ความเป็นจริงของการเทรดคือ เราควรเทรดได้เรื่อยๆ ตามเป้าหมายของเรา (คิดที่เกมส์ระยะยาว)
- ตรงกับกฎของ Warren Buffet

KZM เริ่มอย่างไร ?
1. หา Product ที่จะเทรด
- กราฟที่ ราคาลงระยะห่างถึง 0 น้อยยิ่งดี (เพราะใช้เงินทุนที่น้อย) >> Product ที่ราคาถูก
- ค่า Swap ต้อง +  *ระวัง Spread บางทีอาจทำให้เสียโอกาศในการทำกำไร
2. ศึกษาข้อจำกัดของ Broker
Ex xm ห้ามเปิด Order หรือ Pd Order 200 Order (จำกัด Order)
3. วาง Zone และคำนวณทุน

-สิ่งที่ต้องคำนวณ
-- Lot ,ราคา(จากเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่) ,จำนวน Pips(ระยะห่างแต่ละ Zone)
ทุนต่อไม้ ,ทุนที่ใช้ทั้งหมด ,คิดเป็นเรทเงิน ?

KZM มีความเสี่ยงหรือไม่ ?
- ขึ้นอยู่กับ Broker >> Broker ปิดหนี
- วินัย >> Cut Loss ก่อน >> ไม่เป็นไปตามแผน

การคำนวณต้นทุนต่อ Order
- Pip value x จำนวน Pips (บัญชี Micro 1 Lot = 1,000 Units) [คำนวนเงินต่อ 1 Order]
-- นำ Lot x 1000 Unit
Ex Lot 0.02/Order >> 0.02 x 1,000 = 20
-- นำ unit size >> คำนวณ Lot บนเว็บไซค์
-- สามารถคำนวณผ่านเวปได้ โดยค้นจาก Google >> Pip value calculator

ถ้าคิด Order ลบเยอะ ทำอย่างไร (KZM มาคู่กับดอย)
- การใช้ Hedging >> เข้า Order Buy และ Sell ช่วยลดการ Drawdown
Ex Sell ตอนติดดอย ใน Lot ที่เท่ากัน เพื่อรอมาปิด ในจุดที่ เปิด Order
- การเก็บกำไรตามทางเรื่อยๆ
Ex หลุด Zone เข้า Sell ใน Lot ที่น้อยลง เก็บ Tp เป็น Zone ไป

ถ้าราคาขึ้นไปเยอะเกินราคาที่ zone วางไว้ทำอย่างไร
- ถ้ามีเงินกำไรเหลือเยอะ เทรดต่อ
- หรือหาคู่เงินอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

การเทรดกอง C
- เข้าเทรดด้วยสัญญาน Indicator
- กำหนดกระสุน (กี่นัด)
- กำหนดเปิด Order ห่างกันกี่ Pip
Ex แบ่ง Zone เป็น 4 Zone Zone ละ 20 นัด เข้าสัญญานตาม Indicator ในแต่ละ Zone

Principles by Ray dalio : EP3


ตกตะกอนความรู้ที่ได้จากการอ่าน Principles by Ray dalio [3]

กระบวนการพัฒนาตนเอง
-
ชีวิตประกอบด้วยด้วยตัวเลือกที่ต้องตัดสินใจมากมาย
- แต่ละตัวเลือกให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
- คุณภาพชีวิตของเราขึ้นอยู่กับคุณภาพการตัดสินใจ

- ทุกคนไม่ได้มีความสามารถในการตัดสินใจตั้งแต่เกิด
- เมื่อเราโตขึ้นเราจะเป็นคนตัดสินใจด้วยตนเอง
Ex อยากเป็นครู ต้องการครุศาสตร์ อยากมีครอบครัวต้องแต่งงาน
- ยิ่งเราเข้าใกล้ เป้าหมายเรามากเท่าไหร่ เรายิ่งเจอปัญหา
- เราควรจะ ตัดสินใจอย่างไร เพื่อไห้เราผ่านอุปสรรคเหล่านี้
- การทำให้ความฝันเป็นจริง ต้องต่อสู้กับความจริง >> เผชิญหน้า >> เรียนรู้ว่าได้สิ่งนั้นได้อย่างไร
ความเป็นจริง + ความฝัน + ความตั้งใจจริง =
ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ

อะไรคือความสำเร็จ
- ไม่มีอะไรมากไปกว่าสิ่งที่เราต้องการ
- เราออกแบบเองว่าอะไรเหมาะกับเรา
- ถ้าเราค้นพบมัน >> หาวิธีของมันเองได้
Ex เด็กอยากได้ของเล่น
รู้วิธีที่จะได้มัน จะร้องไห้ จะอ้อนดีดี
หรือเก็บเงินซื้อเอง มันอยู่ที่เราออกแบบเอง

- คนที่ประสบความสำเร็จจะมีวิวัฒนาการมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
-
เขาเรียนรู้ตนเอง สิ่งแวดล้อม และพัฒนาตนเอง
- การพัฒนาตนเองจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้

- คนทั่วไปมีความสุขจากภาพวาดที่เกิดจากความคาดหวัง
Ex เศรษฐีสูญเสียเงิน 500 ล้าน >> ไม่มีความสุข >> ผิดหวัง
-- ใครบางคนมีเงินอยู่ 1000 >> ได้รับเงิน 200 >> มีความสุข  >> สมหวัง
สิ่งที่จะแนะนำสำหรับการมีความสุขคือ

1.
ตั้งมาตรฐานให้สูง และคว้ามันให้ได้
2. ลดมาตรฐานให้พอดีกับสถานภาพ
- คนส่วนมากจะเลือกข้อแรก >> อยากมีความสุขต้องพัฒนาตนเอง
(ธรรมชาติของมนุษย์ไม่เคยพอใจในสิ่งที่มี)
- หลักการทั่วไปสอนให้คนต้องการ งานที่มีความหมาย และเติมเต็มชีวิต
- เคารพในหลักการของคนอื่น และวางแผนของตนเอง ว่าต้องการอะไร >>
ลงมือทำ

การตัดสินใจที่สำคัญของเรา
- ยิ่งเข้าใกล้เป้าหมาย >> ยิ่งเจออุปสรรค + จำนวนการตัดสินใจมากขึ้น
- การตัดสินใจ >> ส่งผลลัพธ์ที่แตกต่าง
- คุณภาพชีวิตขึ้นอยู่กับ ผลลัพธ์
- ในชีวิตที่ผ่านมา เรามีการตัดสินใจเป็นล้านๆครั้ง และนั้นจึงกลายเป็นชีวิตของเราในปัจจุบัน
แบ่ง 5 หัวข้อใหญ่สำหรับตัวเลือกที่ช่วยในการตัดสินใจ (กำหนดคุณภาพชีวิตของเรา)
1. ข้อแรก

พื้นฐานของกฎธรรมชาติ - ความเจ็บปวด (ปัญหา) จะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น
(ปัญหาเยอะ >> เรายิ่งเก่ง) ทำให้เราวิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นอีกขั้นหนึ่ง (ทำลายขีดจำกัด)
- ธรรมชาติให้ความทรมานแก่เรา >> แสดงให้เห็นถึงขีดจำกัดของเรา
- ถ้าต้องการแข็งแกร่งขึ้นต้องผลักดัน(ทำลาย)ขีดจำกัด (นั้นคือความทรมาน)
- ความทรมาน และความเข้มแข็ง คือผลลัพธ์ของกำแพงที่เรียกว่าขีดจำกัด
- เมื่อพบความทรมาน แสดงว่าเราต้องตัดสินใจบางอย่าง (จะผลักดัน หรือหยุดแค่นี้ >> ผลลัพธ์ต่างกัน)

- คนส่วนใหญ่มักมองหนทาง 2 หนทางคือ สู้กับมันตรงๆ หรือ หนีจากมันเลย
>> ผลที่ได้คือไม่ได้เรียนรู้ >> เผชิญกับปัญหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า >> ไม่ได้ช่วยให้เข้าใกล้จุดหมาย
-
มีอีกวิธีที่รับมือกับปัญหาคือ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันมัน
Ex เป็นคนจำชื่อเพื่อนไม่ค่อยได้ มีทางเลือก
1. พยายามจำมันให้หมด(ซึ้งยากมาก)
2. ไม่จำชื่อใครสักคนเลย (ก็จะเกิดปัญหานี้เรื่อยๆ)
3. ใช้กระดาษจด หรือบันทึกลงในโทรศัพท์ (เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน)

- คนที่ตอบสนอง กับความทรมานที่ขัดขวาง ไม่ให้ไปยังจุดหมายได้ >> เข้าใจสาเหตุ
และเรียนรู้วิธีรับมือกับมัน
>> เขาจะแข็งแกร่งขึ้น >> การเรียนรู้มาพร้อม ความผิดพลาด
- ตอบสนองต่อสาเหตุความผิดพลาด >> เรียนรู้เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
*ถ้าเรารู้สึกถึงความทรมาน >> สัญญานบอกให้เราหาวิธีแก้ไข >> คิดให้ลึกซึ้งถึงมัน >> ถ้าผ่านไปได้จะมีพัฒนาการที่รวดเร็ว
จำไว้ว่า
ความเจ็บปวด + การตอบสนอง = กระบวนการพัฒนา
ถามตัวเองว่า
อุปสรรค ใหญ่แค่ไหน ที่สร้างความทรมานให้กับเราในการ พัฒนา

2.ข้อสอง
- คนส่วนมากสับสนว่า อะไรคือสิ่งที่เขาหวังว่าจะกลายเป็นจริง กับสิ่งที่เป็นจริง
- คนที่ไม่ยอมรับความเป็นจริงจะพยายามหลอกตัวเอง
Ex มีเงินอยู่ในบัญชี 1000 บาท คิดว่าเดียวมันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไร
และใช้จ่ายเรื่อยๆ ความจริงคือเงินมันลดจำนวนลงไป ที่ทำแบบนี้เพราะ
ความจริงมันเจ็บปวด
อย่างไรก็ตามการไม่เผชิญหน้า ก็ไม่สามารถหาทางอื่นได้เช่นกัน
เนื่องจากการตัดสินของเขาไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความจริง
จึงไม่สามารถคาดการณ์ว่าผลลัพธ์ในอนาคตได้ว่ามันจะเป็นอย่างไร
- คนที่รู้ และเข้าใจความจริง จะเลือกและตัดสินใจได้ดีกว่า

จำไว้ว่า
ถามตัวเองว่ามันจริงหรือเปล่า
?

- การเรียนรู้ว่าอะไรคือความจริงนั้นดีที่สุด
- กี่ครั้งที่เราหวังให้เป็นจริง และเกิดขึ้นจริง แล้วมันจริงแท้อย่างนั้นหรือ ?