DSM : Densri Method : EP1

DSM : Densri Method : EP1

สรุปจากกระทู้
หัวข้อ : DSM Concept Version 3 จากสมาชิก Pantip ชื่อ จูล่ง
- http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3990755/I3990755.html

คำนำ
- นักลงทุนในตลาดมี 2 ประเภท เก็งกำไร(เทรด) และนักลงทุน(ลงทุน)
- ในตลาดมีนักเก็งกำไร > นักลงทุน
- นักลงทุนที่แท้จริงจะรู้จัก "กระแสเงินสดแฝง" [สะสมหุ้นเป็นสินทรัพย์]
- คนที่เปิดเผยวิธีการและ เคล็ดลับวิชามีนามว่า "เด่นศรี"

DSM [1] - จุดกำเนิด DSM
- DSM ย่อมาจาก DenSri Method >> Descending Sell Method
- มาจากนักลงทุนชื่อเด่นศรี >>ลงทุนด้วยวิธี Short Against Port
- เป็นแนวทางการลงทุนสร้างหุ้น และกระแสเงินสด

DSM [2] - หัวใจ และแนวคิดของ DSM
- หัวใจการลงทุนหุ้น DSM >> แผนการลงทุน และระบบบัญชี
- เป้าหมายสูงสุดของ DSM >> สะสมจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น และสร้างกระแสเงินสดแฝง
- ถ้าลงทุนตามแผนอย่างเคร่งครัด ค้นพบว่าวิธีDSM ลงทุนตอนขาขึ้นได้ดีกว่าขาลง

แนวคิดของ DSM
- สะสมจำนวนหุ้นเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนเงินเพิ่ม
Ex มีบ้านปล่อยเช่า >> สะสมเงินค่าเช้าซื้อบ้านเพิ่มอีกหลัง >> สุดท้ายซื้อโรงแรม

- ไม่ลงเงินเพิ่มเพราะ ต้องการให้เงินสร้างตัวมันเอง

- แนวคิด DSM คาดการณ์นักลงทุนต่างชาติ
- วันไหนหุ้นตก(ขาย) และซื้อคืนในราคาที่ถูกกว่า
- นักลงทุนต่างชาติมีหุ้นในมือมหาศาล >> ไม่ชอบให้หุ้นขึ้น >> ชอบให้ขึ้นๆลงๆ และลงหนักๆ
- ทำให้นักลงทุนคิดว่าหุ้นขาลงต้องมีอะไรดีกว่าขาขึ้น >> และถ้าหุ้นขาขึ้นต้องกำไรหนักๆ
- ด้วยวิธีการนี้ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีหุ้นในมือมหาศาล
* เรานักลงทุนวิธีDSM ต้องทำตามแนวทางนักลงทุนต่างชาติ (ต้องมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

DSM [3] - คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM
1.) ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว (ตลอดชีวิต)
-- เงินลงทุนต้องเป็นเงินเก็บที่จ่ายให้ตัวเอง 10%
-- ห้ามถอนเงินมาใช้เป็นอันขาด เพราะเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต (รักษาเงินต้น)
-- ถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินแฝงเท่านั้น
-- สามารถใช้ทรัพย์สินมรดก แก่ลูกหลานได้ (ดีชั่วลูกชั่วหลาน)
2.) มีแนวคิดสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช้กำไรจากพอร์ต >> ไม่สนใจมูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
แยกสองสิ่งให้ออกจากกัน
-- ความแตกต่างระหว่างกำไรส่วนต่าง
-- การลงทุนเพื่อสร้างรายได้
-- ถ้าแยกได้ จะลงทุนตามแนวทางนี้สำเร็จ
3.) อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึง รวยร้อยล้านพันล้าน
-- การมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
-- อิสระในสิ่งที่อยากทำ
*อิสระภาพทางการเงิน "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนต้องการมากกว่า"
4.) มีวินัยในการลงทุน
-- การลงทุน DSM ห้ามเลิกกลางคัน >> จะเกิดความเสียหมายมาก (เลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี)
5.) มีเป้าหมายในอนาคต
-- ต้องได้รับเงินปันผลเท่าไหร่ ถึงจะพอใช้ในชีวิตประจำวัน
6.) จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับ เสียงชาวบ้าน(เสียงนกเสียงกา)
7.) ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจไส่
8.) ต้องเป็นความสมัครใจของนักลงทุนเอง
-- ไม่มีใครสามารถบังคับได้
-- เมื่อพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจ >> สร้าง Model Trade ของตนเอง
-- สร้างหลักการตัวชี้วัดความสำเร็จของตนเอง (โดยนำตัวอย่างจากบทความเป็นต้นแบบ)
9.) การลงทุนแบบ DSM เสี่ยงหรือไม่
-- ความเสี่ยงไมไ่ด้ขึ้นกับการลงทุน >> ขึ้นอยู่กับความเข้าใจแนวคิดการลงทุนวิธีนี้
-- ถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมาก
-- ไม่มีอะไรในชีวิตไม่มีความเสี่ยง
-- แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอ การลงทุนวิธี DSM จึงเป็นคำตอบ

สิ่งที่จะได้รับจากวิธีการลงทุน DSM และไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
- เป็นส่วนหนึ่งกับเจ้าของบริษัท
- สร้างรายได้จากหุ้น และกระแสเงินสดแฝง
- ะมีเงินปันผลหุ้นเพิ่มขึ้นทุกปี (ตามจำนวนหุ้น)
- ะเหลือเวลาว่างอยู่กับครอบครัว
- สุขภาพจิตที่ดีขึ้น (หุ้นขึ้นก็ดีใจ หุ้นลงก็ยิ้ม)

ทำไมต้องมีอิสรภาพทางการเงิน
- ชีวิตไม่ได้มีเวลามากมาย
- ทำไมต้องใช้เวลาทั้งชีวิตทำงาน
- เรียนรู้วิธีการใช้เงิน >> ให้คนอื่นทำงานให้เรา
- จะได้มีเวลาทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า

สิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคือ
- มีเวลาสำหรับครอบครัว
- มีเงินสำหรับอุทิศเพื่อการกุศล
- มีโอกาศสร้างงาน และความมั่งคงให้ชุมชน
- มีโอกาศท่องเที่ยวกับครอบครัว

ผู้ที่ห้ามลงทุนแบบ DSM
- นักเก็งกำไร หรือนักพนัน
- นักลงทุนระยะสั้น
- ผู้ปล่อยปะละเลย (ไม่ดูแลพอร์ต)
- นักลงทุนที่ไม่เข้าใจแนวคิด DSM

ไม่มีเงิน ไม่มีเวลา ลงทุนแบบ DSM ได้หรือไม่
1.) เงินใช้ในการลงทุนแบบ DSM อาจเริ่มต้นด้วยเงินประมาณ 10,000 บาท
2.) ไม่มีเวลาดูหุ้นทั้งวัน >> ดูวันละครั้งเป็นอย่างน้อย
3.) การลงทุนในหุ้น เหมือนคุณร่วมลงทุนกับกิจการบริษัท >> ควรมีเวลาเพื่อดูกิจการบริษัทบ้าง
4.) ออกจากงานประจำเลยดีไหม
-- ไม่แนะนำเพราะจะขาดกระแสเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
-- ควรทำงานประจำ และแบ่งเวลาบางส่วนก็เพียงพอ
5.) มีเงินไม่มากพอ ลงทุนหุ้นกู้ Margin ดีหรือเปล่า
-- ไม่ควรกู้ Margin >> ระวังเงือนไข Maintenance Margin >> ถูกบังคับ Call Margin
>> เพิ่มวงเงินประกัน >> บังคับ Forcesale >> หุ้นตกขาลง ไม่มีเงินซื้อหุ้ต่ำกว่าราคาที่ขาย
-- หุ้นตกมูลค่าลดลง >> วงเงิน Margin ลดลง >> ซื้อรวบยอดไม่ได้
6.) เมื่อมั่นใจว่าจะลงทุนวิธี DSM สิ่งที่ต้องทำ >> เลือกหุ้นที่จะลงทุน และอยู่กับหุ้นตัวนั้นอย่างน้อย 2 ปี

DSM [4] - ทำไมต้องอย่างน้อย 2 ปี
- ผลตอบแทนจากการลงทุน DSM จะได้กระแสเงินสดขั้นต่ำ 3 % (บางเดือนได้มาก บางเดือนได้น้อย)
- จากสูตร 72 จำกัด
--เอาเลข 72 ตั้งหารด้วยจำนวน %ต่อปีผลลัพธ์ >> เท่ากับจำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็น 2 เท่า
- ผลลัพธ์ปีที่ทำให้จำนวนเงินต้นเป็น 2 เท่า = 72 / ( 3% x 12) = 2 ปี
- แสดงให้เห็นว่า กระแสเงินสดแฝง จะเท่ากับจำนวนเงินต้นเมื่อเวลาผ่านไป 2 ปี
- ตลาดหุ้นเมืองไทย สามารถทำให้เงินคืนได้เร็ว เพราะเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง
- การลงทุนไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลงมือทำ (ค่อยๆก้าวแบบทารก)
* อดทนเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเป้าหมาย

เพิ่มเติม เรื่องกฎ กฎของเลข 72
โดยอ้างอิงจาก : https://moneyhub.in.th/article/rule-of-72/

- Albert Einstein เป็นผู้ค้นพบกฎของเลข 72
- เลข 72 อ้างจากหลักการคิดดอกเบี้ยทบต้น
- เป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลก "พลังดอกเบี้ยทบต้น"
- ถ้าต้องการให้เงินต้นเป็น 2 เท่าในระยะเวลากี่ปี ?
- สูตรการคำนวณคือ
เงินออม หรือลงทุนจะกลายเป็น 2 เท่าในกี่ปี  = 72 / อัตราผลตอบแทนต่อปี  หรือ
เงินออม หรือลงทุนจะกลายเป็น 2 เท่าด้วยอัตรดอกเบี้ยเท่าไหร่ = 72 / ระยะเวลาออม หรือลงทุน(ปี)
- มีเงือนไข เงินออม หรือลงทุนมีผลตอบแทนคงที่
- สูตรนี้สามารถใช้คำนวณ เงินออม ,ระยะเวลาในการออม หรือลงทุน ,อัตราเงินเฟ้อ ,การก่อหนี้

DSM [5] - ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
- ผู้เกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท
-- นักลงทุน ,นักเก็งกำไร

ถามตัวเองว่าเป็นนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร
- ตลาดทุกชนิดมีคน 2 ประเภท
-- ถ้ามีแต่นักลงทุน ราคาหุ้นจะอยู่นิ่งๆ
-- ถ้าเป็นนักเก็งกำไร แต่ลงทุนด้วย DSM เน้นให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง

ความแตกต่างระหว่างนักลงทุน กับนักเก็งกำไร
-นักเก็งกำไร : ต้องการกระแสเงินสดในระยะเวลาที่กำหนด
-นักลงทุน : ต้องการรายได้จากกระแสเงินสดแฝงจากหุ้น และเงินปันผล
# หรือดูง่ายสุด
- ถ้าซื้อหุ้น และขายหุ้นเพื่อหวังกำไรส่วนต่าง >> นักเก็งกำไร
- ถ้าซื้อหุ้นเพื่อหวังเงินปันผล พร้อมกระแสเงินสดแฝง >> นักลงทุน

นักลงทุน หรือนักเก็งกำไร ใครเหมาะที่จะใช้วิธี DSM
- การหวั่นไหวกับราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช้เรื่องผิดปกติ
- Value Investor (VI) เมื่อลงทุนในหุ้นแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงเพราะมั่นใจในบริษัท
- VI ถึงแม้ราคาหุ้นจะตกไปมากเท่าไหร่ ถ้าบริษัทกำไร ก็ยังคงลงทุนต่อ >>  อาจซื้อเพิ่มด้วยวิธี DSM
- วิธีการลงทุนแบบ DSM เหมาะกับนักลงทุนแบบ Value Investor (VI)
- ใช้จำนวนเงินลงทุนก้อนเดิมมาเพิ่มจำนวนหุ้น VI
- DSM เป็นส่วนผสมระหว่าง VI ในสายเลือด >> เพิ่มทักษะการซื้อขายหุ้นแบบนักเก็งกำไร
>> เพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้น
- ห้ามใช้วิธีการลงทุนแบบ DSM ในการตามเงินลงทุนที่ขาดทุนไปคืน
>> ถ้าเลิกกลางคัน อาจสูญเสียมากกว่ากำไร
- DSM ใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ถึงคุ้มต้นทุนตอนเริ่มต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น