DSM : Densri Method : EP7

DSM [19] เปรียบเทียบ VI กับ DSM แบบลึกซึ้ง
เปรียบเทียบ VI กับ DSM เจาะลึกแบบถึงลูกถึงหุ้น
- การมอง และการคิด
VI - ข่าวดีปล่อย ข่าวร้ายซื้อ >> เข้าใจว่าหุ้นตกชั่วขณะ >> เชื่อว่าบริษัทมีกำไรยั่งยืน
-- เราได้ของดีราคาถูก ไม่ยอมให้อารมณ์ชักนำ
DSM - มองหุ้นที่ถือครอบครองเสมือนเป็นทรัพย์สิน >> ต้องสร้างรายได้จากทรัพย์สิน
-- ได้รับกระแสเงินสดแฝง เปรียบเสมือนเก็บค่าเช้าจากทรัพย์สิน
-- เริ่มจากเข้าใจการลงทุน >> ความคิดการลงทุนเปลี่ยน >> ได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
-- หุ้นตกยิ้มได้ หุ้นขึ้นก็ยังยิ้มได้

- ขาขึ้น
VI - ปล่อยให้พอร์ตโตระยะยาว
DSM - ปล่อยให้พอร์ตโตตามกระแสเงินที่วางไว้ (ได้รับกระแสเงินสดมาก >> มีความสุขมาก)

- ขาลง
VI - เก็บให้เยอะที่สุด โดยเฉพาะตอนราคาตก (เก็บสะสม แต่เพิ่มเงิน)
DSM - ขาย Short ทีละ Step จับคู่ซื้อคืน
-- ซื้อราคาถูกกว่าที่ขาย เท่ากับได้กระแสเงินสดแฝง (Phantom Cash Flow)
-- นำเงินกลับมาซื้อสะสมหุ้นเพิ่ม
-- พอร์ตโตขึ้นเรื่อยๆ

- การวิเคราะห์ปัจจัยทางพื้นฐาน
VI - หุ้นเด่น >> เลือกจากพื้นฐานที่แข็งแกร่ง (P/E ,P/B ,หนี้น้อย ,เงินสดมาก) เติบโตระยะยาว
- หุ้นที่ดูด้อย >> หุ้นที่มีปัญหาปัจจุบัน แต่ยังมีสินทรัพย์ และเงินสดเหลือ
(อาจได้หุ้นราคาถูก และคนอื่นมองข้าม)
- เลี่ยงหุ้นที่ร้อนแรง และสินค้าที่แข่งราคา
DSM - แม้ปัจจัยพื้นฐาน ไม่ใช้หัวใจหลักของกระแสเงินสดแฝง >> แต่ต้องเลือกหุ้นที่แข็งแกร่ง >>
เติบโตระยะยาว (Set50 ,Set100) >> หุ้นตกสุดท้ายดีดกลับมา
- ถ้าต้องการถือหุ้นที่ถือยาว โดยไม่ขายทิ้ง พิจารณาหุ้นที่เด่น และแกร่งในวงการ
- ระวังหุ้นพื้นฐานดีแต่นิ่ง เนื่องจากทำกระแสเงินสดแฝงได้ช้า
- การวิเคราะห์งบการเงินไม่ใช้เรื่องที่ดี (งบการเงินตกแต่งหลอกได้)

- การวิเคราะห์ทางเทคนิค
VI - ไม่จำเป็น >> หาความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการอยู่รอดของกิจการ
DSM - ไม่จำเป็น >> เป็นการเสียเวลา (เอาอดีตมาดูอนาคต) รายใหญ่สร้างกราฟได้

- จุดเด่นของแต่ละวิธี
VI - ซื้อหุ้น เพื่อหวังครอบคลองกิจการ ดูคู่แข่ง เปรียบเหมือนหา ห่านทองคำ เพื่อเลี้ยง และเก็บไข่ขาย
DSM - มีหุ้นมากตัวได้ แต่การสวิงของหุ้นต้องสูง เพราะจะได้กระแสเงินสดจากราคาหุ้นตก
-- ต้องมีการสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากกระแสเงินสดแฝงที่ได้
-- สุดท้ายคืออิสรภาพทางการเงิน

- กระแสตลาด และความเป็นไปของสังคม กับการตัดสินใจลงทุนซื้อขาย
VI - อย่าตื่นข่าวลือ ,ระวังหุ้นร้อนแรงเพราะปั่น
- คอยเก็บหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ เมื่อราคาตก
- มองหาหุ้นตัวอื่นที่กิจการยังดี ที่คนไม่ค่อยสนใจ
- ระวังเรื่องอัตราดอกเบี้ย ถ้าเพิ่ม มูลค่าธุรกิจจะลดลงเสมอ (หุ้นจะตก)
DSM - ไม่ต้องใช้ความรู้รอบตัวกับเหตุการณ์มาก (อาจทำให้ไขว้เขว)
- ยึดทำตามแผนการสม่ำเสมอ
- การวิเคราะห์การเงิน ,ข่าว ไม่ค่อยมีประโยชน์ (คนวงในปล่อยกันเอง)
- ใช้วินัย >> เก็บกระแสเงินสดแฝง >> ค้นหาอิสรภาพทางการเงิน
- ทำตัวเองให่สุขุม เยือกเย็น โดยเฉพาะตอนหุ้นลง (คนอื่นเกิดความทุกข์)
- นักลงทุนวิธีการนี้มีความแตกต่าง เอกลักษณ์เฉพาะตัว

- การให้เวลา
VI - ไม่ต้องนั่งเฝ้ามากนัก ดูแลและตัดสินในเมื่อตลาดไม่น่าไว้วางใจ
DSM - ต้องรอคอยการตกของหุ้น อย่างสบายใจ จับคู่ "ขายเพื่อซื้อ" หรือ "ขายเพื่อสร้างโอกาสซื้อ"
- ควรปล่อยไห้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิต

- การใช้ชีวิต
VI & DSM - เรียบง่าย อยู่แบบสบายๆ ตามพระราชดำรัส อยู่แบบพอเพียง ไม่ยึดติด "รวยเพราะพอเพียง"
- แบ่งรายได้ส่วนเกินไปช่วยเหลือสังคม หรือทำบุญบ้าง
- นำมาหาความสุขไส่ตนบ้าง เพราะเงินเป็นแค่ตัวเลขทางบัญชี

- เราใช้วิธีการลงทุนแบบ DSM กับหุ้น เปรียบเทียบว่า ยังต้องการดูแลกิจการด้วยตนเองอยู่
- เมื่อวันหนึ่งเราได้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ >> ไม่ต้องคอยดูแลกิจการที่วางไว้
- ณ ตอนนั้นคงถือเป็นนักลงทุนแบบ VI ได้เต็มตัว

DSM [20] เปรียบเทียบการลงทุนทุนของ VI ,DSM กับอสังหาริมทรัพย์
- เปรียบเทียบการลงทุน VI ,DSM กับอสังหาริมทรัพย์
VI - คนที่รู้ว่าทำเลทองอยู่ที่ไหน >> กว้านซื้อในราคาที่ถูก >> แม้มีคนขอซื้อแพงก็ไม่ขาย
- รู้ว่าจับจองทำเลทองไว้อยู่
- เมื่อมีคนรู้มากขึ้น >> คนแห่มาลงทุน >> กำไรไหลมาเทมา
- รายได้ ได้จากค่าเช่า ,ราคาที่ดินก็เพิ่มตามเวลา
DSM - คนที่ประมาณได้ว่าทำเลทองอยู่ที่ไหน >> เลือกที่คนพลุกพล่านหน่อยๆ
- ซื้อคล่อง ขายคล่อง
- แต่จะไม่รู้ว่า ราคาตอนที่ซื้อเหมาะสม หรือยัง
- เอามาแบ่งขายเป็น lot เล็กๆ >> ถ้าตลาดมีความต้องการสูงก็ โก่งราคาหน่อยๆ
- ถ้าปล่อยไปแล้วไม่มีคนเอาก็ ตั้งราคาถูกลงอีก
- ขายไปแล้ว ค่อยๆ ทยอยซื้อคืน >> ซื้อคืนเมื่อราคาตกลงมากว่าราคาขาย
- รายได้จากการปล่อยขาย เราก็เอาไปลงทุนทำเลอื่น หรือเพิ่มที่ทำเลเดิม ตามแผนการลงทุน

VI - ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเฟ้นหาทำเลทอง >> ประเมินมูลค่าทำเล
- เงินสดจะเก็บเอาไว้จนกว่า จะเจอทำเลทอง
DSM - เวลาส่วนใหญ่ จะใช้ในการวางแผนว่า พรุ้งนี้ซื้อขายอะไร ที่ราคาเท่าไหร่

- คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเวลาส่วนใหญ่ในการลงทุนแบบ DSM หมดไปกับการเทรด
- จริงแล้วเวลาส่วนใหญ่หมด กับการวางแผนหลังตลาดปิด
- ปกติการลงทุนแบบ DSM ใช้เวลาวางแผนขึ้นอยู่กับ จำนวนหุ้นที่ติดตาม (ทั้งถือและไม่ถือ)
- ส่วนเวลาการเทรดมักใช้เวลาสั้นๆ (ติดตามตลาด)

- คิดเป็นแนวทางลงทุนที่สำเร็จแน่นอน
- แทบปราศจากความเสี่ยง (หมดเนื้อหมดตัว)
- ให้ผลตอบแทนที่พึงพอใจ "ถ้าสามารถรักษาวินัยการลงทุนได้อย่างเคร่งครัด"
- ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินใจ เพราะตัดสินใจ ตั้งแต่ตอนวางแผนแล้ว

ถ้าต้องการลงทุนแบบผสมระหว่าง VI และ DSM สามารถทำได้
- VI ซื้อหุ้นมาได้ตอนถูกแล้ว >> ถือรอจนผลตอบแทนสูง (จำนวนหุ้นเท่าเดิม)
- ระหว่างที่รอราคาขึ้น เราก็ลงทุนแบบ DSM ไปด้วย
- เราจะได้หุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- อย่างนี้เรียก ลงทุนแบบ DSM พันธุ์ทาง ไม่ได้เรียก ลงทุนแบบ DSM พันธุ์แท้

DSM [21] เมื่อหุ้นเป็นเทวดาตกสวรรค์ ทำอย่างไร ?
- การเลือกหุ้น ลงทุนแบบ DSM ควรเลือกหุ้นออกมาจาก SET50 ,SET100 เป็นตัว Big CAPS
- ถ้าหุ้นพวกนี้ขึ้น SET ก็ขึ้น ถ้าลง SET ก็ลง

แล้วถ้าเลือกหุ้นผิดจังหวะจะทำอย่างไร ?
Ex หุ้น N-PARK ราคาล่วงจาก 9.60 >> 0.75 ในเวลาปีเศษ
มีหลักยึดง่ายๆ คือ
- กฎการออก
- กฎการควบคุมหุ้น (ตัวปัญหาในมือ)
- กฎการเข้าซื้อหุ้น

- นักลงทุนต้องคิด และวางแผนไว้ล่วงหน้า >> ถ้าหุ้นล้ม เราจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน
*เน้นย้ำนักลงทุนทุกท่านว่า "ให้ซื้อหุ้น ที่เหลือในมือน้อย"
- หุ้นตัวใด ขายแล้วซื้อคืนได้ตลอด หมายความว่าหุ้นตัวนั้นราคาค่อยๆ ลงมาเรื่อยๆ
- หากไม่กำหนดราคาสุดท้ายที่จะออกจากหุ้นตัวนั้น ก็ควรที่จะไม่เพิ่มจำนวนหุ้นนั้น

มีคำกล่าวฝากนักลงทุนทุกท่านว่า
"หุ้นที่ราคาไม่กลับไปสูงเท่าเดิม สร้างผลตอบแทนมากกว่า หุ้นที่ราคาไม่กลับไปต่ำเท่าเดิม"

ถ้าลงทุนกับหุ้นบางตัวที่มีการเคลื่อนไหวมาก >> กิจการไม่ดี โดนขึ้นเครื่องหมาย SP
จะทำอย่าไงดี ? >> ต้องตอบคำถามเหล่านี้ก่อน
- เราต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นหรือเปล่า ?
-- ถ้าตอบว่า ยังต้องการอยู่กับหุ้นตัวนั้นต่อ >> หลังปลดเครื่องหมาย SP >> ทำตามแผนต่อ
-- ถ้าตอบว่า ไม่ต้องการแล้ว >> ไม่ต้องฝืนใจอย่กับหุ้นตัวนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น