Tfex Options : TFEX EASY : EP1 [Youtube]

Tfex Options : TFEX EASY : EP1 [Youtube]

-----------------------------------------------------------------------------------
สรุปความรู้ที่ได้จาก
Link : https://www.youtube.com/watch?v=GzwMZJR0AOA
ตอนที่ 1 : รู้จักกับ Options
Options คือ
- สัญญาสิทธิล่วงหน้า ให้สิทธิกับผู้ซื้อ Options มีสิทธิซื้อ หรือขาย สินทรัพย์ในอนาคต
ตามจำนวน ราคา และเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
- ในตลาดมีทั้งผู้ซื้อแล้วผู้ขาย
- เวลาซื้อ ขาย เราไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินทั้งหมด
- เราจ่ายเพียง ค่าจองสิทธิ์ หรือ เรียกว่าค่า Premium

ค่า Premium คือ
- คล้ายๆ ค่ามัดจำในการจองสิทธิ์ซื้อขาย
- เราต้องจ่ายเพื่อให้เรามีสิทธิในการซื้อขาย

ผู้ซื้อ และผู้ขายต่างกัน ?
ผู้ซื้อ
- สามารถเลือกใช้สิทธิหรือ ไม่ก็ได้
-- ถ้าเราได้กำไร >> เราจะใช้สิทธิ
-- ถ้าเราขายทุน >> เราไม่ใช้สิทธิ >> เราเสียค่า Premium
ผู้ขาย
- ต้องยอมรับที่ทำตามเงื่อนไขที่ยอมรับแต่แรก
- เมื่อทำสัญญา จะได้รับเงินค่า Premium จากการขายสิทธิ
- เมื่อถึงเวลาครบสัญญา ผู้ซื้อไม่มาใช้สิทธิ >> จะได้รับค่า Premium และของคืน
** สามารถขาดทุนได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ความน่าสนใจ
- เป็นทางเลือกที่สามารถสร้างผลกำไรได้ในอนาคต
- ควบคุมการขาดทุนได้สูงสุดในค่า Premium นั้น

-----------------------------------------------------------------------------------
Link : https://www.youtube.com/watch?v=ebEyMNwv7Ds
ตอนที่ 2 : รู้จักกับ SET50 Index Options
Set 50
- ดัชนีราคาหุ้น 50 ตัว >> ตลาดหลักทรัพย์คัดเลือกมาจาก >> มูลค่าสูง สภาพคล่องสูง

Options มี 2 ประเภท
- Call Options >> สัญญาสิทธิ เพื่อซื้อดัชนี Set50 ณ ราคาวันนี้ (แทงขึ้น)
-- สามารถใช้สิทธิในอนาคต ตามระยะเวลา และเงือนไขที่ตกลงกันไว้
-- ผู้ซื้อ ชำระค่า Premium เพื่อ ซื้อ Call Options
- เมื่อถึงวันที่ใช้สิทธิ ถ้าราคา ขึ้นสูงกว่าราคาใช้สิทธิ (Price + Premium) จะสามารถทำกำไรได้
- ถ้าวันใช้สิทธิ ราคาไม่เคลื่อน เราจะขาดทุนสูงสุดคือ ค่า Premium

- Put Options >> สัญญาสิทธิ เพื่อขายดัชนี Set50 ณ ราคาวันนี้ (แทงลง)
-- เพื่อใช้สิทธิในราคาที่ตกลงในอนาคต
-- ผู้ซื้อชำระค่า Premium เหมือนกัน >> แต่ผลที่ได้ตะตรงข้าม Call Options (แทงลง)
- กำไรก็ต่อเมื่อราคา ราคาลง (Price + Premium) ถึงกำไร
- ราคาไม่ลงตาม จะเสียแค่ค่า Premium

## ถ้าคือว่าจะขึ้น ให้ซื้อ Call Options ถ้าคิดว่าลง ให้ซื้อ Put Options
- ถ้าถึงวันใช้สิทธิราคาไม่เป็นไปตามคาด ปล่อยให้ Options หมดอายุ (เสียค่า Premium)

-----------------------------------------------------------------------------------
Link : https://www.youtube.com/watch?v=tRz0avXLwQQ
ตอนที่ 3 : ชื่อย่อของ SET50 Options
ชือย่อ Options
- ช่วยให้สะดวกในการเรียก และส่งคำสั่ง Options ไปยังระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่าย
- เปรียบเสมือน บาร์โคด ที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ

แบ่งเป็น 4 ส่วน
1. ตัวย่อของสินค้าอ้างอิง S50 คือ ดัชนี SET50

2. รายละเอียดของ เดือนและ ปีที่ครบกำหนด Options สัญญา Options
- ตัวอักษรตัวแรกคือ เดือน
แต่ละเดือนมีตัวย่อ
F = มกราคม
G = กุมภาพันธ์
H = มีนาคม
J = เมษายน
K = พฤษภาคม
M = มิถุนายน
N = กรกฎาคม
Q = สิงหาคม
U = กันยายน
V = ตุลาคม
X = พฤศจิกายน
Z = ธันวาคม
- ตัวเลข 2 ตัวคือปีที่ครบกำหนด Options
Ex U13 หมายความว่า สัญญาจะหมด เดือนกันยายน ปี 2013
* ผู้ซื้อ Options สามารถเลือก วันครบกำหนดสัญญาได้ 4 รูปแบบ
- 1 เดือน ,2 เดือน ,3 เดือน ,6 เดือน

3. ประเภทของ Options มีอยู่ 2 ประเภท
C = Call สิทธิในการซื้อ
P = Put สิทธิในการขาย

4. ราคามใช้สิทธิ
- มีความต่างราคาที่ 5 ระดับ แต่ละระดับมีความต่างกัน 25 จุด

เพราะฉะนั้น S50 U13 C 800
= SET50 หมดอายุเดือนกันยายน ปี2013 Call Options ที่ราคาใช้สิทธิ 800
- จะได้กำไร ก็ต่อเมื่อราคา ซื้อ และราคาสูงกว่า 800 จุด

-----------------------------------------------------------------------------------
Link : https://www.youtube.com/watch?v=LVxp0J-buB4
ตอนที่ 4 : ราคาใช้สิทธิ Strike Price
ราคาใช้สิทธิ (Strike Price)
- ราคาที่ผู้ซื้อ Options สามารถซื้อหรือขาย สินค้าอ้างอิง ตามที่ตกลงไว้กับผู้ขาย ในวันที่ครบอายุ
- มีความสำคัญต่อผลกำไรผู้ที่ซื้อ Options
- ในวันที่ครบกำหนด ราคาของ Options ผู้ซื้อได้กำไรหรือ ไม่ ขึ้นอยู่กับการเคลื่อน ดัชนี Set50
(จะกำไรก็ต่อเมื่อ ขึ้นหรือลง มากกว่า Price + Premium)
- Options มีราคาใช้สิทธิที่แตกต่างกัน

- ราคาใช้สิทธิที่หลายระดับราคา >> เพื่อให้ผู้ลงทุน เลือกซื้อขายได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด
- โดย ขณะนั้น จะมีราคาใช้สิทธิที่แตกต่างกัน อย่างน้อย 5 ระดับดัชนี และต่างกัน 25 จุด

ราคาใช้สิทธิ แบ่งเป็น 3 แบบ
1. ATM [At- The -Money Options]
- ราคาใช้สิทธิที่ใกล้เคียงกับราคาดัชนีในปัจจุบัน (ถ้าใช้สิทธิในวันนี้จะยังไม่ได้กำไร และก็ไม่ขาดทุน)

2. ITM [In-The-Money Options]
- ราคาที่หากใช้สิทธิในวันนี้ จะได้กำไรจากการใช้สิทธิ

3. OTM [Out-Of-The-Money Options]
- ราคาที่หากมีการใช้สิทธิในวันนี้ จะไม่ได้กำไร

Ex  ถ้าเรา Call Options (แทงขึ้น) เปรียบเทียบ Set50 ที่ราคา 805 จุด
- ที่ราคา 750 , 775 จะเรียกว่า ITM (มีราคาใช้สิทธิต่ำกว่าที่เราซื้อ) >> เราใช้สิทธิ เราได้กำไร
- ที่ราคา 800 (มี 1 ราคา) จะเรียกว่า ATM (ราคาใช้สิทธิใกล้เคียงปัจจุบัน)
- ที่ราคา 825 , 850 จะเรียกว่า OTM เราซื้อขึ้น แต่ราคายังไม่ถึง (หากผู้ซื้อใช้สิทธิ แล้วยังไม่ได้กำไร)

Ex ถ้าเราซื้อ Put Options (แทงลง) เปรียบเทียบราคา Set50 ที่ราคา 805 จุด
- ที่ราคา 825 , 850 จะเรียกว่า ITM (มีราคาใช้สิทธิ สูงกว่าที่เราซื้อ) >> เราใช้สิทธิเราได้กำไร
- ที่ราคา 800 (มี 1 ราคา) จะเรียกว่า ATM (ราคาใช้สิทธิใกล้เคียงปัจจุบัน)
 - ที่ราคา 750 , 775 จะเรียกว่า OTM เราใช้สิทธิยังไม่ได้กำไร (แทงลง ราคายังไม่ถึง)
# ได้กำไรเมื่อใช้สิทธิที่เป็น ITM [In - The - Money Options]

ปกติ ราคา Options ที่เป็น ITM จะมีราคาสูงกว่า OTM
- เพราะโอกาสทำกำไร ITM มีมากกว่า
- ซื้อที่ ITM จะซื้อแพง เพราะมันบวกกำไรไปด้วย
- ถ้าซื้อที่ OTM คือ ราคาที่ยังไม่มีกำไร
ดังนั้น ITM จึงแพงกว่า OTM

-----------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเติม
-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น